วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

19.ลักษณะและความสำคัญของวัฒนธรรมสากล

18.ลักษณะและความสำคัญของวัฒนธรรมสากล
  • วัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่ดีงาม ได้หล่อหลอมให้คนไทยทุกหมู่เหล่าทั่วทุกภูมิภาคของประเทศเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประชาชนได้ยึดถือและนำมาปฏิบัติใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิต ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นเครื่องเหนี่ยวนำให้คนในชาติมีความรู้สึกเป็นพวกพ้องเดียวกัน วัฒนธรรมไทยมีลักษณะและความสำคัญดังนี้
  • การเคารพผู้อาวุโส  วัฒนธรรมของไทยจะไความสำคัญต่อการเคารพผู้อาวุโสเป็นอย่างยิ่งเพราะท่านเป็นผู้มีพระคุณและมีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองให้กับสังคมจนมาถึงปัจจุบัน การตอบแทนพระคุณในสังคมไทยสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การที่ลูกได้บวชเรียนเพื่อเป็นการทดแทนพระคุณพ่อแม่ การเลี้ยงดูเมื่อยามแก่เฒ่า เป็นต้น
  • มีความศรัทธาในการทำบุญ  คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษดังนั้น ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันธรรมสวนะ  ชาวพุทธจะนิยมไปทำบุญตักบาตรเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว
  • การสร้างความรักความผูกพันในครอบครัว  พื้นฐานทางสังคมไทยส่วนใหญ่จะเป็นสังคมชนบทที่อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ทุกคนจึงมีความรักความผูกพันต่อกันมีการแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลในด้านต่าง ๆ และจะมีการถ่ายทอดความรู้สึกนี้ไปสู่คนรุ่นต่อไปทำให้สังคมเกิดความสงบสุข
  • การมีวัฒนธรรมทางด้านศิลปกรรมและทางด้านภาษาเป็นของตนเอง  เนื่องจารกประชาชนส่วนใหญ่ของไทย มีความศรัทธาในหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ 
  • งานทางด้านศิลปกรรมส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาแทบทั้งสิ้น เช่น การสร้างวัด การปั้นพระพุทธรูปเป็นต้น 
  • นอกจากนั้นไทยยังมีภาษาสำหรับใช้ในการติดต่อสื่อสารกันเป็นของตนเองซึ่งทรงประดิษฐ์ขึ้นในปีพ.ศ.1826 สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัยและได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้มีความสะดวกและทันสมัยเป็นภาษาประจำชาติของไทยมาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะและความสำคัญของวัฒนธรรมสากล
  • วัฒนธรรมสากลเป็นวัฒนธรรมของชาวต่างชาติที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางโดยส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมของประเทศตะวันตกมีลักษณะและความสำคัญพอสรุปได้ดังนี้
    • 1. เป็นความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เพื่อนำมาผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ในการอำนวยความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตมีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อนำมาใช้ในการอำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตตลอดเวลา
    • 2. เป็นวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับการสะสมวัตถุหรือความร่ำรวย เป็นลักษณะของวัตถุนิยมโดยไม่ได้คำนึงถึงศีลธรรมของประชาชนมากนักส่งผลให้เกิดความเห็นแก่ตัวและการใช้หลักกฎหมายในการอยู่ร่วมกัน
    • 3. การกระตุ้นให้ประชาชนมีการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยการใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบาย โดยการใช้เงินซื้อ จึงต้องมีการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ เป็นจำนวนมากเพื่อนำมาสนองความต้องการของผู้บริโภคให้เพียงพอ ทำให้มีการสิ้นเปลืองทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นวัตถุดิบสำคัญเป็นอย่างมาก
    • 4. เป็นวัฒนธรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลามีประโยชน์กับผู้อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่มีเครื่องมือการสื่อสารกันที่ทันสมัยมากกว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในชนบทห่างไกลที่ขาดเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
    • 5. วัฒนธรรมสากลอาจนำไปสู่ความเสื่อมทางศีลธรรมของท้องถิ่นนั้นได้ เนื่องจากวัฒนธรรมเป็นการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประชาชนซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละสภาพ แวดล้อมดังนั้น วัฒนธรรมสากลบางอย่างอาจไม่เหมาะสมกับบางท้องถิ่นและเป็นสาเหตุทำให้ศีลธรรมอันดีของประชาชนเสื่อมลงด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น