วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หน่วยที่ 3 พลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก

หน่วยที่ 3
พลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก
1.     พลเมืองดีของประเทศชาติและสังคม
2.     พลเมืองดี
3.     บทบาทหน้าที่ของพลเมืองดี
4.     แนวทางการพัฒนาตนเป็นพลเมืองดี
พลเมืองดี
·         พลเมือง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคม ทุกสังคมย่อมต้องการพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายถึงการมีร่างกายแข็งแรง มีจิตใจดี คิดเป็น ทำเป็น แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า ความมั่นคงให้กับประเทศชาติ นอกจากนี้การเป็นพลเมืองดีนั้นย่อมต้องปฏิบัติตามบรรทัดฐานและขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม มีคุณธรรมเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อการพัฒนาสังคมให้ยั่งยืนสืบไป
ความสำคัญของพลเมืองดี
·         ด้านสังคม
1.     พลเมืองที่ดีช่วยให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย
2.     สังคมมีการพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
3.     มีการแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยใช้หลักเหตุผล
4.     ช่วยลดความขัดแย้งและการใช้ความรุนแรงในสังคม
·         ด้านเศรษฐกิจ
1.     พลเมืองที่ดีจะประกอบสัมมาอาชีพสุจริต
2.     ดำเนินชีวิตประจำวันอยู่บนพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.     มีความประหยัดอดออม ไม่ใช้จ่ายเกินตัว  และไม่ก่อหนี้
4.     มีความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจทั้งระดับครอบครัว ชุมชน และประเทศ
·         ด้านการเมืองการปกครอง
1.     พลเมืองดีย่อมคารพกฎหมาย
2.     ปฏิบัติตนตามวิถีประชาธิปไตย
3.     รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเอง
คุณลักษณะของพลเมืองดี
1.     เคารพกฎหมาย
2.     เคารพสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
3.     มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ทั้งในครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลก
4.     มีเหตุผล ใจกว้าง และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5.     มีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน
6.     มีจิตสาธารณะ คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม
7.     มีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองการปกครอง
คุณธรรม จริยธรรมของพลเมืองดี
·         การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
1.     มีจิตสาธารณะ
2.     รู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
3.     ให้ความช่วยเหลือคนรอบข้างและคนในสังคมอยู่เสมอ

·         การรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน
1.     เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
2.     เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรี
3.     ยึดหลักเสียงส่วนมากเพื่อหาข้อยุติและเคารพเสียงส่วนน้อย
·         การมีระเบียบวินัย รับผิดชอบต่อหน้าที่
1.     เคารพกฎระเบียบ และกติกาของสังคม
2.     ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น และรู้จักปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของตนเอง
3.     ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มความสามารถ
·         มีความซื่อสัตย์สุจริต
1.     ไม่เบียดบังเอาทรัพย์สินของผู้อื่นมาเป็นของตน
2.     มีความซื่อตรงต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
·         มีความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง
1.     มีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์
2.     ไม่ยอมรับหรือสนับสนุนการกระทำที่ไม่ถูกต้อง
·         มีความสามัคคี
1.     มีความรักใคร่กลมเกลียวต่อคนรอบข้าง
2.     ไม่สร้างความแตกแยกในสังคม
3.     ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานเพื่อพัฒนาชาติ
·         มีความละอายและเกรงกลัวต่อการทำชั่ว
1.     มีความซื่อสัตย์
2.     ปฏิบัติตนโดยยึดหลักธรรมในการดำเนินชีวิต
3.     ละเว้นการทำในสิ่งไม่ดีทั้งหลาย
·         ส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมือง
1.     ประชาชนควรเลือกคนดีมีความสามารถให้เข้าไปบริหารบ้านเมือง
2.     ควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจทางด้านการปกครอง
บทบาทหน้าที่ของพลเมืองดี
·         ด้านการเมืองการปกครอง
1.     เคารพกฎหมาย
·   ปฏิบัติตามกรอบของกฎหมายอย่างเคร่งครัด
·   ไม่กระทำการใดๆ ที่ละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง
2.     รู้จักใช้สิทธิและหน้าที่ของตน
·   ปฏิบัติตนตามบทหน้าที่ให้ดีที่สุด
·   รู้จักปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนเองและผู้อื่นอย่างเหมาะสม
3.     ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
·   ไปใช้สิทธิเลือกตั้งทุกครั้งเพื่อเลือกคนดีเข้าไปบริหารประเทศ
·   ไม่นอนหลับทับสิทธิ
·   ไม่ขายสิทธิขายเสียง
·         ด้านเศรษฐกิจ
1.     ประกอบอาชีพสุจริต
·   ดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
·   รู้จักเก็บออมเงินเพื่อไว้ใช้จ่ายในยามจำเป็น
2.     ใช้จ่ายอย่างประหยัด
·   มีวินัยทางการเงิน
·   ไม่นำเงินไปซื้อสิ่งของที่ไม่จำเป็น
·   ไม่อยากได้ในวัตถุสิ่งของที่เกินฐานะของตน
3.     เสียภาษีอากร
·   จ่ายภาษีครบตามจำนวน และตรงเวลา
·   ไม่กระทำการใดๆ เพื่อเป็นการหลบเลี่ยงภาษี
·         ด้านสังคมและวัฒนธรรม
1.     รักษาความสงบเรียบร้อย
·   ไม่ก่อความวุ่นวายในสังคม
·   ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรอบข้าง
·   หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงตัดสินปัญหา
2.     ช่วยเหลือคนพิการและผู้ด้อยโอกาส
·   มีเมตตากับผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย
·   ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้พิการหรือผู้ด้อยโอกาส
·   ให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้คนพิการและผู้ด้อยโอกาสตามความเหมาะสม
3.     อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
·   อนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ
·   ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมสืบต่อไปยังคนรุ่นหลัง
แนวทางการพัฒนาตนเป็นพลเมืองดี
·         การเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว
1.     ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน
§  ขยันหมั่นเพียรศึกษาหาความรู้
§  หมั่นทบทวนตำราเรียนอยู่เสมอ
2.     เชื่อฟังคำสอนของพ่อแม่
§  ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีของครอบครัว
§  ไม่กระทำเรื่องเสื่อมเสียหรือสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นในครอบครัว
3.     แบ่งเบาภาระของพ่อแม่
§  ช่วยเหลืองานบ้านของพ่อแม่
§  ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายภายในบ้าน
·         การเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน
1.     เชื่อฟังคำสั่งสอนของครูอาจารย์
§  มีสัมมาคารวะ แสดงความเคารพต่อครูอาจารย์
§  นำคำสอนของครูไปใช้ในการดำเนินชีวิต
2.     เคารพและปฏิบัติตามกฎของโรงเรียน 
§  แต่งกายถูกระเบียบตามที่โรงเรียนกำหนด
§  มาโรงเรียนและเข้าเรียนตรงเวลา
§  ไม่สร้างความเสียหายแก่สาธารณสมบัติของโรงเรียน
§  มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน 
3.     เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
§  มีน้ำใจช่วยเหลือครูอาจารย์และเพื่อนนักเรียน
§  ช่วยกันดูแลรักษาโรงเรียนให้สะอาดเรียบร้อย
·         การเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
1.     รักษาสิ่งแวดล้อม
§  ช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
§  ไม่ทิ้งเศษขยะลงในแม่น้ำลำคลอง
2.     ช่วยกันดูแลรักษาสาธารณสมบัติ
§  เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน 
§  ร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาด้านต่างๆ ภายในชุมชน
3.     รวมกลุ่มกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งภายในชุมชน
§  ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐในการสอดส่องดูแลชุมชน
§  ช่วยกันสอดส่องดูแล ป้องกันการก่ออาชญากรรมในชุมชน
§  ร่วมกันป้องกันไม่ให้มียาเสพติดภายในชุมชน
·         การเป็นสมาชิกที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก
1.     มีคุณธรรม จริยธรรม
§  ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
§  ปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม
§  มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนรอบข้าง
2.     เคารพกฎหมาย
§  ปฏิบัติตามระเบียบของสังคม
§  ไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการละเมิดกฎหมาย
3.     มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมืองการปกครอง
§  ไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งทุกครั้ง
§  สนใจติดตามข่าวสารทางด้านการเมืองการปกครองอยู่เสมอ
§  ดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย
§  มีส่วนร่วมแสดงออกทางการเมืองอย่างสร้างสรรค์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น