วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หน่วยที่ 4 สิทธิมนุษย์ชน

หน่วยที่ 4
สิทธิมนุษย์ชน

สิทธิมนุษย์ชน
1.       ความหมายและความสำคัญของสิทธิมนุษยชน
2.       การพัฒนาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
3.       ปัญหาสิทธิมนุษยชนและแนวทางแก้ไข
4.       องค์การระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
5.       ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
ความหมายและความสำคัญของสิทธิมนุษยชน
·         พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายของสิทธิมนุษยชนว่า หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม
ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน
·         มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ เสรีภาพในชีวิต สามารถปกป้องตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีอำนาจในการตัดสินใจโดยอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องและเป็นธรรม
·         มนุษย์ทุกคนมีอิสระทางความคิด สร้างสรรค์ผลงาน ประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเสรี โดยไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น
·         มนุษย์ทุกคนมีคุณค่าในตนเอง มีเกียรติภูมิที่เกิดเป็นมนุษย์ ยอมรับความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรี ชาติกำเนิด สิทธิต่างๆ ที่มีพื้นฐานมาจากความชอบธรรม ตามสิทธิที่ได้มาตั้งแต่กำเนิด
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
·         ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เป็นข้อตกลงที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดขึ้น ในการวางกรอบเบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและเป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ให้การรับรอง เพื่อให้ประเทศสมาชิกทั้งหลายใช้เป็นแนวทางในการคุ้มครองดูแลสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองในประเทศของตน
·         สาระสำคัญ
o   มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิต่างๆ
o   ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสากลฯโดยปราศจากการแบ่งแยก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด
o   มนุษย์ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคง
o   บุคคลจะตกอยู่ในความเป็นทาสหรือสภาวะจำยอมไม่ได้ ทั้งนี้ห้ามการค้าทาสทุกรูปแบบ
o   บุคคลจะถูกกระทำการทรมาน หรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมไม่ได้
o   ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับทุกแห่งหนว่าเป็นบุคคลตามกฎหมาย
o   ทุกคนเสมอภาคกันตามกฎหมายและมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายอย่างเท่าเทียม โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ
o   มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอันมีประสิทธิผลจากศาล บนพื้นฐานของตนตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
o   บุคคลจะถูกจับกุม กักขัง หรือเนรเทศ ตามอำเภอใจไม่ได้
o   ทุกคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญามีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดตามกฎหมาย
องค์การระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
1.       สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR)
·         บทบาทหน้าที่
·         ปกป้องและสนับสนุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยทั่วโลก ตามข้อเรียกร้องของรัฐบาลในแต่ละประเทศ
·         เป็นผู้นำและประสานงานในการรวบรวมความช่วยเหลือจากนานาประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาของผู้ลี้ภัยทั่วโลก
·         ให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมแก่ผู้แสวงหาที่พักพิงและบุคคลไร้รัฐ
2.       องค์การแอมเนสตี อินเตอร์เนชันแนล (AI)
·         บทบาทหน้าที่
·         เป็นอาสาสมัครระหว่างประเทศที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน
·         มีบทบาทในการเผยแพร่และสนับสนุนให้คนตระหนักถึงการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน
·         ให้ความร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ องค์กรรัฐบาล และองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนเรื่องสิทธิมนุษยชน
3.       องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
·         บทบาทหน้าที่
·         ช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานทั่วโลกให้ได้รับความยุติธรรมจากสังคม
·         ช่วยให้ผู้ใช้แรงงานมีคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ การศึกษา สาธารณสุข และการประกอบอาชีพที่ดีขึ้น
·         ขจัดความยากจนและจัดให้ผู้ใช้แรงงานมีงานทำ
·         ส่งเสริมการฝึกอบรมผู้ใช้แรงงานให้มีประสิทธิภาพ
·         ดูแลผู้ใช้แรงงานให้ได้รับความปลอดภัยจากการทำงาน
·         สร้างเสริมประชาธิปไตยและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ใช้แรงงาน



ปัญหาสิทธิมนุษยชนและแนวทางแก้ไข
1.       ปัญหาแรงงานข้ามชาติ
·         สาเหตุของปัญหา
o   การลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศไทยโดยผิดกฎหมาย
o   เกิดชุมชนแออัดในเมืองหลวงและเขตอุตสาหกรรม
o   เกิดการแพร่กระจายของโรคติดต่อจากกลุ่มผู้ใช้แรงงาน
o   เกิดปัญหาอาชญากรรมและความรุนแรง
·         แนวทางการป้องกันแก้ไข
o   จัดให้มีการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติได้ตลอดทั้งปี
o   จัดทำกลไกคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้แรงงานตามกฎหมาย
o   มีมาตรการลงโทษที่ชัดเจนกับนายจ้างที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
2.       ปัญหาสิทธิเด็ก
·         สาเหตุของปัญหา
o   เด็กไม่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานจากภาครัฐ เช่น เด็กพิการ เด็กยากจน
o   เด็กถูกปล่อยปละละเลยไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัว
o   เด็กถูกกระทำทารุณกรรมจากบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลภายนอก
·         แนวทางการป้องกันแก้ไข
o   จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมสิทธิเด็ก
o   ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิเด็กออกสู่สาธารณะ
o   ประสานความร่วมมือของทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหาสิทธิเด็ก
3.       ปัญหาสิทธิสตรี
·         สาเหตุของปัญหา
o   การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
o   การถูกเอาเปรียบในการจ้างงานและสวัสดิการต่างๆ
o   ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสิทธิของชายและหญิง
·         แนวทางการป้องกันแก้ไข
o   ส่งเสริมความเสมอภาคเท่าเทียมกันของชายและหญิง
o   รณรงค์ให้คนในสังคมตระหนักถึงคุณค่าของสตรีให้มากขึ้น
o   มีมาตรการคุ้มครองสิทธิสตรีอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
o   กำหนดมาตรการลงโทษผู้กระทำละเมิดสิทธิเด็กและบังคับใช้อย่างเข้มงวด



การพัฒนาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
·         ภาครัฐ
o   ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้สิทธิมนุษยชนศึกษา  
o   สร้างความตระหนักและจิตสำนึกของประชาชนตามหลักสิทธิมนุษยชน
o   เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
o   ผลักดันกฎหมายให้เกิดการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิอย่างเป็นรูปธรรม
o   สร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีแก่สาธารณชนในบทบาท ภารกิจด้านสิทธิมนุษยชน
·         ภาคเอกชน
o   เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนให้กับสมาชิกในสังคม
o   สร้างความเข้าใจและส่งเสริมแนวคิดสิทธิมนุษยชนแก่คนทั่วไป
o   รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชน
o   ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในเรื่องสิทธิมนุษยชน ทั้งด้านข้อมูล เนื้อหา และการจัดกิจกรรม ที่ส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชน
·         ภาคประชาชน
o   ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่กฎหมายกำหนด
o   ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
o   เคารพในความเสมอภาคเท่าเทียมกันของมนุษย์
o   ไม่กระทำการดูถูก ดูหมิ่น หรือเหยียดหยามบุคคลอื่น
o   รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
o   ให้ความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น