วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ไสลน์ ม.4 หน่วยที่ 7



ชุดที่ 2 กฎหมาย

กฎหมาย 

  • ในฐานะที่เราเป็นพลเมืองของประเทศชาติ ถือเป็นสมาชิกของสังคม มีความจำเป็นต้องเรียนรู้กฎหมาย ก็เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคมและความอยู่รอดของคนในสังคม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันและวิถีการดำเนินชีวิตก็ยิ่งมีความสำคัญ เพราะความเป็นธรรม ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นในสังคมก็ต่อเมื่อมนุษย์ได้ใช้กฎหมายเป็นบรรทัดฐานในการตกลง ตัดสินข้อพิพาท การแจกจ่ายและการได้มาอย่างมีกฎเกณฑ์และเป็นที่ยอมรับของสังคม

ความหมายของกฎหมาย

  • ได้มีผู้ให้ความหมายของกฎหมายไว้ดังนี้
กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย
  • "กฎหมาย คือ คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองว่าการแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตาม ธรรมดาต้องลงโทษ"

ดร.สายหยุด แสงอุทัย

  • "กฎหมาย คือข้อบังคับของรัฐที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ"
  • กฎหมาย สามารถแยกได้เป็น 2 คำคือ คำว่ากฎซึ่งแผลงมาจากคำว่า กด หรือกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายและถูกลงโทษ 
  • จากคำจำกัดความของกฎหมายข้างต้น สามารถสรุปความหมายของกฎหมายได้ว่า หมายถึง ระเบียบ ข้อบังคับ บทบัญญัติซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐหรือประเทศ ได้กำหนดมาเพื่อใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองหรือบังคับความประพฤติของประชาชนในรัฐหรือประเทศนั้นให้ปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม หากผู้ใดฝ่าฝืนจะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมาย

ความสำคัญของกฎหมาย

  • มนุษย์เป็นสัตว์สังคมอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ เป็นเหล่า ความเจริญของสังคมมนุษย์นั้นยิ่งทำให้สังคมมีความ สลับซับซ้อน ตามสัญชาตญาณของมนุษย์แล้ว ย่อมชอบที่จะกระทำสิ่งใด ๆ ตามใจชอบ ถ้าหากไม่มีการ ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์แล้ว มนุษย์ก็จะกระทำในสิ่งที่เกินขอบเขต ยิ่งสังคมเจริญขึ้นเพียงใด ความจำเป็น ที่จะต้องมีมาตรฐานในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ที่จะต้องถือว่าเป็นมาตรฐานอันเดียวกันนั้นก็ยิ่งมี มากขึ้น เพื่อใช้บังคับเป็นการทั่วไปแก่ทุกคนในลักษณะของกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งจะกำหนด 
  • วิถีทางการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนตาย   กฎเกณฑ์และข้อบังคับหรือวิธีการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์มีการพัฒนา และมีวิวัฒนาการต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ดังนั้นเราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากฎหมายไม่มีความจำเป็น และเกี่ยวข้องกับชีวิตคนเราในปัจจุบันนี้ กฎหมายได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเรามาก ตั้งแต่เราเกิดก็จะต้องแจ้งเกิดเพื่อขอสูติบัตร เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ก็ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน จะสมรสกันก็ต้องจดทะเบียนสมรสจึงจะสมบูรณ์และในระหว่างเป็นสามี ภรรยากันกฎหมายก็ยังเข้ามาเกี่ยวข้องไปถึงวงศาคณาญาติอีกหรือจนตายก็ต้องมีใบตาย เรียกว่าใบมรณะบัตร และก็ยังมีการจัดการมรดกซึ่งกฎหมายก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง เสมอนอกจากนี้ในชีวิตประจำวันของคนเรายังมีความเกี่ยวข้องกับ ผู้อื่น เช่นไปตลาดก็มีการซื้อขายและ 
  • ต้องมี กฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องการซื้อขาย หรือการ ทำงานเป็นลูกจ้าง นายจ้างหรืออาจจะเป็น ข้าราชการก็ต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา และที่เกี่ยวข้องกับชาติบ้านเมืองก็เช่นกัน ประชาชนมีหน้าที่ต่อบ้านเมืองมากมาย เช่น การปฏิบัติตนตามกฎหมาย หน้าที่ในการเสียภาษีอากร หน้าที่รับราชการทหาร สำหรับชาวไทย กฎหมายต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องก็มีมากมายหลายฉบับ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา "คนไม่รู้ กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว" เป็นหลักที่ว่า บุคคลใดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้หลุดพ้นจากความผิด ตามกฎหมายมิได้ ทั้งนี้ ถ้าหากต่างคนต่างอ้างว่าตนไม่รู้กฎหมายที่ทำไปนั้น ตนไม่รู้จริง ๆ เมื่อกล่าวอ้าง อย่างนี้คนทำผิดก็คงจะรอดตัว ไม่ต้องรับผิด ไม่ต้องรับโทษกัน ก็จะเป็นการปิดหูปิดตาไม่อยากรู้กฎหมาย และถ้าใครรู้กฎหมายก็จะต้องมีความผิด รู้มากผิดมากรู้น้อยผิดน้อย แต่จะอ้างเช่นนี้ไม่ได้เพราะถือว่าเป็น หลักเกณฑ์ของสังคมที่ประชาชนจะต้องมีความรู้ เรียนรู้กฎหมาย เพื่อขจัดข้อปัญหาการขัดแย้ง ความ ไม่เข้าใจกัน ด้วยวิธีการที่เรียกว่า กฎเกณฑ์อันเดียวกันนั้นก็คือ กฎหมายกฎหมายกับสิทธิ  เสรีภาพ  และหน้าที่ของประชาชน
  • สิทธิของประชาชนตามกฎหมาย เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยรัฐธรรมนูญได้กำหดสิทธิของ 
  • ประชาชนเอาไว้ โดยให้ถือว่าประชาชนไทยไม่ว่าแหล่งกำเนิด หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครอง แห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกันหมด เช่น 
    • 1. บุคคลย่อมมีสิทธิทางการเมือง
      • หมายความว่า คนทุกคนย่อมสามารถเข้ามารับผิดชอบต่อบ้านเมือง โดยการใช้สิทธิตามกฎหมาย เช่น กฎหมายเลือกตั้ง เมื่อประชาชนอายุครบ 18 ปี ย่อมมีสิทธิ ที่จะเลือกตั้งผู้แทนราษฎร เพื่อให้ผู้แทนราษฎรไปทำหน้าที่ทางการเมืองแทนตนเอง ที่เป็นการตัดสินใจ ของประชาชนว่าจะได้ผู้แทนที่ไปทำหน้าที่ในด้านการเมืองได้ดีเพียงใด 
    • 2. บุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและย่อมได้รับความคุ้มครอง
      • ทั้งสิทธิอันนั้นสามารถใช้อ้างอิง หรือยืนยันกับบุคคลอื่นได้ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าทรัพย์สินจะไปอยู่ที่ใด จะถูกขโมยหรือ เคลื่อนย้ายไปที่อื่น ผู้เป็นเจ้าของก็ยังสามารถอ้างสิทธิอันนี้ได้โดยตลอด เพื่อให้ทรัพย์สินเหล่านั้นกลับคืนมาอยู่ที่เดิมหรือ อยู่ในความครอบครองอย่างเดิม ถ้าหากบุคคลอื่นครอบครองเอาไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือโดยไม่มี สิทธิก็ย่อมสามารถฟ้องร้องต่อศาล เพื่อบังคับให้เป็นไปตามสิทธิได้
  • หน้าที่ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ 
    • 1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย หน้าที่ในข้อนี้ถือว่าเป็นหน้าที่อันสำคัญ 
    • 2. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ หน้าที่ข้อนี้มิใช่ว่าจะเป็นหน้าที่ของทหารเท่านั้น คนไทยทุกคน ต้องมีหน้าที่เช่นเดียวกัน 
    • 3. บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหารเพราะการเป็นทหารนั้นจะได้ทำหน้าที่ป้องกันประเทศโดยตรง พอถึงวัยหรืออายุตามที่กฎหมายกำหนดก็จะต้องไปรับราชการทหาร แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับบางคน ที่กฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้ 
    • 4. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายเนื่องจากกฎหมายเป็นหลักปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันในสังคม จึงจะละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้ 
    • 5. บุคคลมีหน้าที่ช่วยเหลือราชการ เมื่อถึงคราวที่ประชาชนพอจะช่วยเหลือได้ หรือเมื่อทางราชการ ขอความช่วยเหลือในฐานะที่เป็นประชาชนพลเมืองของชาติจึงต้องมีหน้าที่อันนี้ เช่น การช่วยพัฒนาถนนหนทาง การช่วยบริจาคทรัพย์สินต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งช่วยกันดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยการเป็นหูเป็นตาให้ราชการ
  • ประเภทของกฎหมาย
    • การแบ่งประเภทของกฎหมายโดยพิจารณาจากสภาพภูมิศาสตร์หรือขอบเขตการใช้กฎหมายมาเป็นแนวทางในการแบ่งประเภท อาจแบ่งกฎหมายได้เป็น 2 ประเภท คือ
      • 1. กฎหมายระหว่างประเทศ
        • กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐในฐานะที่เท่าเทียมกัน เป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นจากความตกลงระหว่างรัฐ ซึ่งถือเป็นกติกาในการจัดระเบียบสังคมโลก ตัวอย่างเช่น กฎหมายการประกาศอาณาเขตน่านฟ้า การส่งผู้ร้ายขามแดน และสนธิสัญญาต่างๆ เป็นต้น
      • 2. กฎหมายภายในประเทศ
        • เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับภายในรัฐต่อบุคคลทุกคนที่อาศัยอยู่ภายในรัฐ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนของประเทศนั้นๆ หรือบุคคลต่างด้าว กฎหมายภายในประเทศยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ กฏหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
    • กฎหมายมหาชน หมายถึง กฎหมายที่รัฐเข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นคู่กรณีด้วยกับเอกชน มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดรูปแบบการปกครองรัฐ และควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชนในฐานะที่รัฐจำต้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และผลประโยชน์ของสาธารณะ โดยทั่วไปกฎหมายมหาชนแบ่งได้เป็น 5 ประเภท คือ
    • รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ กำหนดรูปแบบและการปกครองของรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตย และการกำหนดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้านต่างๆ
    • กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่ขยายความให้ละเอียดจากรัฐธรรมนูญบัญญัติเกี่ยวกับองค์กรของรัฐ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการปฏิบัติการต่างๆ ตามกฎหมาย กำหนดสิทธิของประชาชนในการเกี่ยวพันกับรัฐ
    • กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติครอบคลุมเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของรัฐ ชุมชน และประชาชนโดยส่วนรวม วัตถุประสงค์ของกฎหมายเพื่อที่จะให้ความปลอดภัย สร้างความเป็นระเบียบของรัฐและรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชน
    • กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดวิธีพิจารณาคดีอาญาทางศาล
    • พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กำหนดว่าในการพิจารณาคดีนั้น ศาลใดจะมีอำนาจในการพิจารณาคดีประเภทใด
    • กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัว
    • นักเรียนเป็นเด็กและเยาวชนย่อมอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายเช่น้ดียวกับบุคคลอื่นๆ มิได้ยกเว้นว่า ถ้าเป็นเด็กหรือเยาวชนฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว จะไม่ต้องรับโทษหรือไม่มีความผิด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษากฎหมายให้เข้าใจเพื่อจะได้ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย กฎหมายมีหลายประเภท กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและครอบครัวที่นักเรียนจะได้ศึกษาในชั้นเรียนนี้ แยกกล่าวเป็น 2 ประเด็นคือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง
  •      กฎหมายเกี่ยวกับชื่อบุคคล
  •                 ชื่อบุคคล เป็นเครื่องบ่งชี้เฉพาะตัวบุคคล บุคคลที่มีสัญชาติไทย กฎหมายกำหนดให้ต้องมีชื่อบุคคล ซึ่งประกอบด้วยชื่อตัวและชื่อสกุล และอาจมีชื่อรองก็ได้ แต่โดยปกติแล้วคนไทยไม่นิยมตั้งชื่อรอง
  •                 ชื่อตัว เป็นชื่อประจำตัว ชื่อตัวเป็นการจำแนกบุคคลแต่ละคนเป็นรายตัว ในครอบครัวที่ใช้ชื่อสกุลเดียวกัน เจ้าบ้านหรือมารดาผู้มีหน้าที่แจ้งการเกิดจะต้องแจ้งชื่อเด็กที่เกิดตามแบบพิมพ์ในสูติบัตรภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันแจ้งเกิดนั้น
  •                 ชื่อรอง หมายถึง ชื่อประกอบ ซึ่งกฎหมายไม่บังคับจะต้องมีชื่อรอง เพียงแต่บังคับให้มีชื่อตัว
  •                 ชื่อสกุล หมายถึง ชื่อประจำวงศ์สกุล หรือนามสกุลนั่นเอง
  •                 การตั้งชื่อตัวและชื่อรอง
  •                 ตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ.2505 และระเบียบกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2506 การตั้งชื่อตัวและชื่อรองมีหลักเกณฑ์ดังนี้
  •                 1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
  •                 2. ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  •                 3. ต้องไม่มีเจตนาทุจริต มีความหมายให้รู้ว่าเป็นชายหรือหญิง
  •                 4. ชื่อหนึ่งไม่ควรยาวเกิน 5 พยางค์
  •                 5. ผู้เคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ แต่ได้ออกจากบรรดาศักดิ์นั้น โดยมิได้ถูกถอดถอนจะใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัวหรือชื่อรองก็ได้
  •                 การเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อรอง
  •                 มีหลักเกณฑ์ดังนี้
  •                 1. ต้องมีเหตุผลสมควร
  •                 2. ไม่เป็นไปเพื่อทุจริตหรือมีทุจริตแอบแฝงอยู่
  •                 3. ถูกต้องตามหลักการตั้งชื่อตัว ชื่อที่เหมาะสม ไม่ยาวเกินไป ไม่เป็นภาษาต่างประเทศ
  •                 4. ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องให้บิดามารดา ผู้ปกครองให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร
  •                 การขอเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อรองให้ผู้ขอยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เมื่อนายทะเบียนพิจารณาแล้ว เห็นว่าชื่อตัวหรือชื่อรองที่ขอเปลี่ยนใหม่นั้นไม่ขัดต่อพระราชบัญญติชื่อบุคคลก็จะอนุญาต และออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อให้
  •                 การตั้งชื่อสกุล
  •                 ชื่อสกุลหรือนามสกุลที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยมากจะสืบทอดมาจากบิดามารดาหรือบรรพบุรุษ แต่ถ้าต้องการขอเปลี่ยนชื่อสกุลใหม่ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายกำหนด โดยยื่นคำขอต่อนายทะเบียนท้องที่ การตั้งชื่อสกุลมีหลักเกณฑ์ดังนี้
  •                 1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี
  •                 2. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่ราชทินนามของตน ของบุพการี หรือของผู้สืบสันดาน
  •                 3. ไม่คล้ายกับชื่อสกุลที่ได้รับการพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้ว
  •                 4. ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
  •                 5. ต้องมีพยัญชนะไม่เกินกว่า 10 พยัญชนะ เว้นแต่การใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล
  •                 การใช้ชื่อสกุลของหญิงมีสามี หญิงมีสามีมีสิทธิเลือกใช้ชื่อสกุลเดิมของตน หรือชื่อสกุลของสามี
  •                 การใช้ชื่อสกุลของผู้เยาว์ บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิที่จะใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดาก็ได้ แต่ถ้าเป็นบุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่มิได้ทำการจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย หรือบิดาไม่ปรากฏให้ใช้ชื่อสกุลของมารดา
  •                 บุตรบุญธรรมมีฐานะอย่างเดียวบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงใช้ชื่อสกุลของผู้รับบุตรบุญธรรมได้ แต่บุตรบุญธรรมก็ยังไม่สูญสิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาโดยกำเนิด จึงมีสิทธิใช้ชื่อสกุลเดิมได้ แล้วแต่บุตรบุญธรรมจะเลือก
  •                 เด็กสัญชาติไทยที่เกิดมาไม่ปรากฏชื่อสกุล เช่นไม่ปรากฏบิดามารดา ผู้อุปการะเลี้ยงดูเด็ก เช่นสถานพยาบาล สถานสงเคราะห์ อาจของตั้งชื่อสกุลให้เด็กใช้ร่วมกันหรือแยกกันก็ได้
  •                 นอกจากชื่อตัว ชื่อรอง และชื่อสกุล บุคคลอาจมีชื่ออย่างอื่นๆ เช่น ชื่อบรรดาศักดิ์ นามแฝงอีกก็ได้
  •      กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน
  •                 บัตรประจำตัวประชาชน เป็นบัตรซึ่งใช้แสดงว่าตนเป็นคนไทย ผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้นที่มีสิทธิมีบัตรประจำตัวประชาชน คนต่างด้าวไม่มีสิทธิมีบัตรประจำตัวประชาชน ในบัตรจะระบุชื่อ นามสกุล วัน เดือน ปีเกิด ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน และรูปถ่ายของผู้ถือบัตร จึงมีประโยชน์ในการติดต่อกับทางราชการ และธุรกิจที่ต้องการหลักฐานแสดงตน อายุ และภูมิลำเนาของผู้ถือบัตรด้วย
  •                 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัตรประจำตัวประชาชน ได้แก่ พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
  •                 บุคคลที่มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 70 ปีบริบูรณ์ และชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะต้องดำเนินการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์
  •                 ในกรณีที่เป็นคนต่างด้าว และได้แปลงสัญชาติเป็นไทย จะต้องยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันที่ได้สัญชาติไทย
  •                 การขอมีบัตร ผู้ขอต้องยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอตามระเบียบที่กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทยกำหนด เช่น ทะเบียนบ้าน เป็นต้น ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ดังต่อไปนี้
  •                 1. สำหรับผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในท้องที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยประกาศกำหนดให้เป็นท้องที่จังหวัดสำหรับการออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ให้ผู้ขอยื่นคำขอ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล ศาลาว่าการเมืองพัทยา หรือสำนักทะเบียนสาขาตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรแห่งใดแห่งหนึ่งในท้องที่จังหวัดตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยก็ได้ การทำบัตรประจำตัวประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์นี้สามารถทำได้ทุกแห่งในท้องที่ซึ่งบริการทำบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์
  •                 2. สำหรับผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนอกท้องที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้เป็นท้องที่จังหวัดสำหรับการออกบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ให้ผู้ขอยื่นคำขอ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ สำนักงานเทศบาล หรือสำเนาทะเบียนสาขาตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรแห่งท้องที่ ซึ่งผู้ขอมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  •                 ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ไปทำบัตรประจำตัวประชาชนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวย่อมมีความผิด
  •                 อย่างไรก็ตาม บุคคลบางประเภทได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่นทหารกองประจำการ ข้าราชการ ตำรวจ ภิกษุ สามเณร นักบวช ผู้มีกายพิการเดินไม่ได้ หรือเป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ และผู้อยู่ในที่คุมขัง โดยชอบด้วยกฎหมายเป็นต้น
  •                 สำหรับบัตรประจำตัวประชาชนนั้นใช้ได้ 6 ปี นับแต่วันออกบัตร ซึ่งในบัตรจะระบุวันที่ออกบัตรและวันที่บัตรหมดอายุ เมื่อบัตรหมดอายุแล้ว ผู้ถือบัตรจะต้องขอเปลี่ยนบัตรใหม่ โดยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 60 วันนับแต่วันที่บัตรหมดอายุ มิฉะนั้นจะมีความผิด อย่างไรก็ตามผู้ถือบัตรจะขอบัตรใหม่ก่อนวันที่บัตรหมดอายุก็ได้ โดยยื่นขอภายใน 60 วันก่อนวันที่บัตรเดิมจะหมดอายุ
  •                 ผู้ถือบัตรที่มีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ไม่ต้องขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่ บัตรประจำตัวประชาชนฉบับเดิมยังคงใช้ได้ตลอดชีวิต
  •                 ถ้าบัตรประจำตัวประชาชนหาย หรือถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ถือบัตรจะต้องขอมีบัตรใหม่หรือขอเปลี่ยนบัตรใหม่แล้วแต่กรณีภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรนั้นหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด และถ้าผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล หรือทั้งชื่อตัวและชื่อสกุล แล้วแต่กรณีจะต้องขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วันเช่นกัน นอกจากนี้ผู้ถือบัตรที่ย้ายที่อยู่จะขอมีบัตรใหม่ก็ได้ โดยต้องขอมีบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีชื่อในทะเบียนบ้านนั้นๆ
  •                 ผู้ถือบัตรจะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนไว้พร้อมที่จะแสดงต่อเจ้าพนักงานตลอดเวลา หากไม่อาจแสดงได้เมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจย่อมมีความผิด
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสามารถของผู้เยาว์
  •                 คนเราเมื่อเกิดมาแล้วเราเรียกว่า คนหรือมนุษย์ แต่ในทางกฎหมายนั้นเรียกว่า บุคคลธรรมดา
  •                 ความเป็นมาหรือสภาพบุคคลนั้นเริ่มมาตั้งแต่เมื่อใด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15 บัญญัติว่า สภาพบุคคลย่อมเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
  •                 เมื่อคนเราเกิดมามีสภาพบุคคลแล้ว ก็ย่อมมีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย ในขณะที่เป็นผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิหน้าที่และความสามารถในทางกฎหมายแตกต่างไปจากผู้ใหญ่
  •                 เนื่องจากผู้เยาว์เป็นผู้ที่ยังอ่อนทั้งด้านสติปัญญา ความรู้สึกนึกคิด ความสามารถและความรับผิดชอบ แม้จะมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย เช่น มีสิทธิที่จะมีทรัพย์สินได้ มีสิทธิที่จะศึกษาเล่าเรียนได้ แต่โดยที่ผู้เยาว์มีอายุยังน้อยอยู่ ฉะนั้นการที่จะให้มีสิทธิ สามารถกระทำการต่างๆ ในทางกฎหมายได้ทุกประการเหมือนผู้ใหญ่หรือผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เยาว์ได้ ดังนั้น ในเรื่องเกี่ยวกับความสามารถนี้กฎหมายจะต้องให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษ
  •                 ในการให้ความคุ้มครอง กฎหมายจะจำกัดความสามารถของผู้เยาว์ในการกระทำการใดๆ ที่จะก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมาย โดยให้บิดามารดาผู้แทนโดยชอบธรรมกระทำการแทน หรือต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน
  •                 ในทางกฎหมายนั้น ผู้เยาว์ หมายถึง บุคคลที่อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ บุคคลที่พ้นจากการเป็นผู้เยาว์ เรียกว่า ผู้บรรลุนิติภาวะ ซึ่งได้แก่ ผู้ที่อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว ถ้าอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ จดทะเบียนสมรสโดยได้รับความยินยอมจากบิดามารดาของทั้งสองฝ่าย เมื่ออายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ ก็ถือว่าเป็นผู้บรรลุนิติภาวะเหมือนกัน คือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส
  •                 กล่าวโดยสรุปผู้บรรลุนิติภาวะมี 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ และชายหญิงที่สมรสกันเมื่อเขาทั้งสองมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  •                 เมื่อนักเรียนยังเป็นผู้เยาว์อยู่ กฎหมายจึงจำเป็นต้องคุ้มครองไว้ว่าผู้เยาว์จะใช้สิทธิกระทำการใดๆที่จะก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายโดยลำพังไม่ได้ จะต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรมกระทำการแทน หรือต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน การกระทำนั้นๆ จึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย
  •                 โดยทั่วไปผู้แทนโดยชอบธรรมก็คือ บิดามารดาของผู้เยาว์นั่นเอง ฉะนั้นการที่กฎหมายบังคับว่าผู้เยาว์จะต้องได้รับความยินยอมโดยความเห็นชอบจากผู้แทนโดยชอบธรรม ย่อมชอบด้วยกฎหมายแล้ว เพราะว่าผู้แทนโดยชอบธรรม คือบิดามารดาซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้เยาว์ ให้การศึกษาเล่าเรียนแก่ผู้เยาว์แล้วย่อมมีความรักความผูกพันต่อผู้เยาว์ และจะได้รู้เห็นรับผิดชอบช่วยเหลือผู้เยาว์ได้ ถ้าการที่ได้กระทำไปแล้วนั้นเกิดความเสียหายขึ้นมา แต่ถ้าผู้เยาว์สามารถทำได้ตามลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมแล้ว เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นมาก็จะไม่มีใครรับผิดชอบช่วยเหลือได้
  • ในเรื่องความสามารถของผู้เยาว์นี้อาจสรุปได้ว่า การที่ผู้เยาว์จะกระทำการใดๆ ก็ตามต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน หากกระทำลงไปโดยปราศจากความยินยอมหรือความเห็นชอบแล้ว ผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมมีสิทธิที่จะบอกเลิกการกระทำนั้นได้
  •                 นักเรียนอาจจะสงสัยว่า ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วมิต้องขออนุญาตจากบิดามารดาผู้แทนโดยชอบธรรมในทุกเรื่องไปหรือ ก็มิได้หมายความเช่นนั้นทุกเรื่องไป หากเป็นกิจการอันเป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียวไม่มีทางเสีย เช่น การรับทรัพย์สินที่บุคคลอื่นให้โดยเสน่หา โดยไม่มีข้อผูกมัดเงื่อนไขใดๆ หรือเป็นเรื่องส่วนตัว หรือเป็นเรื่องเล็กน้อย เช่น การไปโรงเรียนต้องซื้ออาหารที่โรงเรียนรับประทาน หรือซื้อดินสอปากกาใช้ตามฐานะของนักเรียน เป็นต้น นักเรียนหรือผู้เยาว์ก็ย่อมกระทำได้อยู่แล้ว ซึ่งไม่จำเป็นต้องมาขอความเห็นชอบจากบิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบธรรม
  • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว
  •                 1. การหมั้น
  •     "การหมั้น" หมายถึงการที่ชายหญิงทำสัญญาว่าจะทำการสมรสกันเมื่อเกิดการหมั้นขึ้น แล้วฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาคือไม่ยอมทำการสมรส อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ แต่จะฟ้องศาลเพื่อให้ศาลบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งทำการสมรสไม่ได้
  •       เงื่อนไขของการหมั้น
  • ชายและหญิงต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่าย ส่วนบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว มีอำนาจทำการหมั้นได้ตามลำพัง ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือรับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครอง
  •       ของหมั้นและสินสอด
  • "ของหมั้น" คือ ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้ไว้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและเป็น ประกันว่าจะสมรสกับฝ่ายหญิง การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินซึ่งเป็นของหมั้น ให้ฝ่ายหญิง เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิของหญิง
  • "สินสอด" คือทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงเพื่อเป็นการตอบแทน ถ้ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้นฝ่ายชายสามารถเรียกสินสอดคืนได้
  •       การเลิกสัญญาหมั้น
  • การเลิกสัญญาหมั้นด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่ฝ่ายชาย

  • 2. การสมรส
  •     "การสมรส" หมายถึง การที่ชายและหญิงสมัครใจเข้ามาอยู่กินกันฉันสามีภรรยา ถ้าจะให้ถูกต้องตามกฎหมาย คู่สมรสจะต้องจดทะเบียนสมรสกัน
  •       หลักเกณฑ์การสมรส
  • บุคคลเพศเดียวกันจะสมรสกันไม่ได้ การสมรสจะต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจของ ชายและหญิง การสมรสจะต้องมีคู่สมรสเพียงคนเดียว คู่สมรสจะสมรสใหม่ไม่ได้ตราบเท่าที่ยังไม่หย่าขาดจากคู่สมรสเดิม
  •       เงื่อนไขแห่งการสมรส
  • 1.             ชายและหญิงต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ มีข้อยกเว้นว่าศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้หากมี เหตุอันสมควร
  • 2.             ชายหรือหญิงต้องไม่เป็นคนวิกลจริต หรือเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
  • 3.             ชายหรือหญิงมิได้เป็นญาติที่สืบสายโลหิตต่อกัน หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา
  • 4.             ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
  • 5.             การสมรสจะต้องมีการจดทะเบียนสมรส ทำให้ชายหญิงเป็นสามีภรรยากันตามกฎหมาย

  • 3. มรดก
  •     ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย เรียกว่า กองมรดก ทายาทในกฎหมายมรดก มิได้หมายถึงแต่เพียงลูกหลานของผู้ตายเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงบุคคลใดก็ตามที่อยู่ ในฐานะที่จะมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ตามกฎหมายมรดก ทายาทแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
  •    ประเภทที่ 1
  •    ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย เรียกว่า "ทายาทโดยธรรม" ได้แก่ คู่สมรสและญาติ  ทายาทที่เป็นญาติ แบ่งได้ ดังนี้
  • 1.             ผู้สืบสันดาน
  • 2.             บิดามารดา
  • 3.             พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
  • 4.             พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดา
  • 5.             ปู่ ย่า ตา ยาย
  • 6.             ลุง ป้า น้า อา
  •     ประเภทที่ 2
  •     ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม เรียกว่า "ผู้รับพินัยกรรม" คือ บุคคลที่ผู้ตายได้ทำเอกสาร ซึ่งเรียกว่า "พินัยกรรม" ยกทรัพย์สินให้ผู้รับพินัยกรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นญาติกับผู้ตาย แต่เป็นบุคคลที่ผู้ตายพอใจจะยกทรัพย์สินให้
  • กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา
  • 1.             นิติกรรม
  • -นิติเหตุ (เหตุการณ์ธรรมชาติ, นิติกรรม, ละเมิด)
  • -นิติกรรม มีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ การกระทำ, ชอบด้วยกฎหมาย, มุ่งผูกนิติสัมพันธ์, สมัครใจ, ก่อ เปลี่ยนแปลง ดอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ์
  • -“การกระทำ” ชัดแจ้ง, ปริยาย, นิ่ง
  • -“ชอบด้วยกฎหมาย” ต้องไม่ต้องห้ามตาม ก.ม., ไม่พ้นวิสัย, ไม่ขัดต่อความสงบฯ
  • -151 ต้องผ่าน 150 คือมีวัตถุประสงค์ชอบด้วย ก.ม. แต่เป็นการขัดความสงบฯ
  • -แบบของนิติกรรม ทำเป็นหนังสือ, จดทะเบียน, ทำเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงาน, ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน
  • -153 ทำโดยผู้เยาว์, คนวิกลจริต, คนไร้ความสามารถ, คนเสมือนไร้ความสามารถ
  • -154 ถ้าผู้แทนนิติบุคคลมีผลประโยชน์ขัดกับนิติบุคคล จะเป็นผู้แทนไม่ได้
  • -155 ว1 ระหว่างกัน เป็นโมฆะ แต่จะยกข้อต่อสู้ต่อคนนอกที่สุจริตและเสียหายไม่ได้
  • -155 ว2 นำก.ม. ของนิติกรรมที่ถูกอำพราง มาใช้บังคับ
  • -สำคัญผิด 156 สำคัญผิดในสาระสำคัญ, 157 สำคัญผิดในคุณสมบัติ
  • -ถูกกลฉ้อฉล ต้องถึงขนาด ถ้ากลฉ้อฉลเพื่อเหตุจ่ายแต่ค่าสินไหม
  • -ข่มขู่ ต้องถึงขนาด ถ้าเป็นเพียงการใช้สิทธิตามปกตินิยม หรือมีสิทธิ์ ไม่ใช่ข่มขู่
  • -การแสดงเจตนา (ฝ่ายเดียว โดยเคร่งครัด, หรือต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา 168, 169, 170, 171
  • -โมฆะกรรม ไม่อาจให้สัตยาบัน, ผู้มีส่วนได้เสียทุกคนอ้างได้, ใช้ลาภมิควรได้
  • โมฆียกรรม ให้สัตยาบันได้, บุคคล 175 บอกล้างหรือสัตยาบันได้, ใช้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
  • -เงื่อนไข หรือเงื่อนเวลา (182, 183, 191 ถึง 193, 193/24, 193/24)
  • 2.             การก่อสัญญา
  • -คำเสนอ นิติกรรมฝ่ายเดียวที่ต้องมีการแสดงเจตนา, ชัดแจ้งเท่านั้น, มีความชัดเจนแน่นอน, ต่อบุคคลเฉพาะเจาะจงหรือต่อสาธารณชนเท่านั้น, ถอนไม่ได้, ไม่ใช้ 169 ว 2
  • -คำสนอง นิติกรรมฝ่ายเดียวที่ต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา, ถอนไม่ได้, ไม่ใช้ 360, ใช้ 169 ว2
  • คำสนองล่วงเวลาหรือมีข้อไข
  • -สัญญาเกิดที่ไหน (361, 366, 367, 368)
  • 3.             ผลของสัญญา
  • -สัญญาต่างตอบแทน 369 ถึง 372 (ให้ดูเรื่องบาปเคราะห์ ดูว่าโทษเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ได้หรือไม่)
  • สัญญาต่างตอบแทนที่เป็นการโอนทรัพย์เฉพาะสิ่งและกรรมสิทธิ์โอนแล้ว
  • สัญญาต่างตอบแทนที่เป็นการโอนทรัพย์เฉพาะสิ่งแต่กรรมสิทธิ์ยังไม่โอน
  • สัญญาต่างตอบแทนที่ไม่เกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์
  • -สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก 374-376 สิทธิ์เกิดเมื่อถือเอา, ถือเอาแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้
  • 4.             มัดจำเบี้ยปรับ (เป็นสัญญาอุปกรณ์) (มัดจำต้องเป็นเงินและต้องให้ในขณะทำสัญญา)
  • (เบี้ยปรับ มี 2 ชนิด คือเพื่อการไม่ชำระหนี้ และเพื่อการชำระหนี้ไม่ถูกต้อง)
  • 5.             การเลิกสัญญา ปพพ.386-394 เป็นการเลิกสัญญาที่มีผลย้อนหลัง
  • -หนี้ระงับได้ 2 วิธี (1) ชำ, ปลด, หัก, แปลง, กลืน (2) ทำลายบ่อเกิดแห่งหนี้ด้วยการเลิกสัญญา
  • -เลิกสัญญามี 2 ประเภท (1) ระงับความผูกพันในอนาคต (2) เลิกสัญญาทีมีผลย้อนหลัง
  • -เลิกสัญญาที่มีผลย้อนหลังมี 2 กรณี (1) เลิกโดยข้อสัญญา (2) เลิกโดยข้อกฎหมาย
  • -เมื่อเลิกสัญญาแล้วเกิดผล 4 ประการ คืนสถานะเดิม, ไม่กระทบคนนอก, เรียกค่าเสียหาย, 392
  • ละเมิด
  • 1.             ต้องรับผิดในการกระทำของตนเอง (420-424)
  • -420 ผู้ใด กระทำ ต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมาย, จงใจหรือประมาทเลินเล่อ, ทำให้เขาเสียหาย
  • -423 ต้องเกิดจากการไขข่าว, เกี่ยวกับชื่อเสียงเท่านั้น, ต้องโดยจงใจเท่านั้น
  • -424 ไม่เอาองค์ประกอบทางอาญามาพิจารณาด้วย
  • 2.             ต้องรับผิดในการกระทำของผู้อื่น (425-432)
  • -425 นายจ้าง-ลูกจ้าง นายจ้างรับผิดในทางการที่จ้าง 427 ตัวการ-ตัวแทน ต้องไม่มีสินจ้าง
  • -428 ผู้ว่าจ้าง-ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างต้องรับผิด เว้นแต่ในการงานที่สั่งให้ทำ, คำสั่งที่ให้, เลือกผู้รับจ้าง
  • -429 ผู้เยาว์-บิดามารดาชอบด้วยกฎหมายรับผิด, คนวิกลจริตที่ศาลสั่งแล้ว-ผู้อนุบาลรับผิด
  • เว้นแต่พิสูจน์ว่าใช้ความระมัดระวังพอแล้ว
  • -430 ผู้รับผิดต้องเกิดโดย กฎหมาย, สัญญา, ข้อเท็จจริง (รวมบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย)
  • เว้นแต่พิสูจน์ว่าใช้ความระมัดระวังพอแล้ว
  • -432 ผู้ร่วมกระทำต้องรับผิดร่วมกัน
  • 3.             ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากสัตว์ และทรัพย์ หรือความรับผิดโดยเด็ดขาด (433-437)
  • -433 สัตว์ เจ้าของหรือผู้รับเลี้ยงรับผิดเว้นแต่ระวังแล้วตามวิสัยของสัตว์หรืออย่างไรต้องเกิด
  • -434 โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างชำรุดหรือบำรุงรักษาไม่ดี ผู้ครองหรือเจ้าของต้องรับผิด
  • -436 ของตกล่นจากโรงเรือน หรือทิ้งขว้าง ผู้ครองโรงเรือนต้องรับผิด
  • -437 ว1 ยานพาหนะอันเดินด้วยเครื่องจักรกล ว2 ของเกิดอันตรายโดยสภาพ
  • เว้นแต่สุดวิสัย และความผิดของผู้เสียหายเอง
  • หนี้
  • 1.             บุคคลสิทธิ, ทรัพยสิทธิ (บ่อเกิดแห่งสิทธิ, สิทธิหน้าที่, วัตถุแห่งสิทธิ, การใช้สิทธิ, อายุความ)
  • 2.             สัญญา, ละเมิด (ผิดหน้าที่สัญญา-ผิดหน้าที่ทั่วไป, ความสมบูรณ์, ค่าเสียหาย, ผิดนัด, อายุความ)

  • 3.             มูลแห่งหนี้ หรือบ่อเกิดแห่งหนี้ (สัญญา, ละเมิด, นอกสั่ง, ลาภมิควรได้, กฎหมายกำหนด)

  • 4.             วัตถุแห่งหนี้ (กระทำการ, งดเว้นกระทำการ, โอนทรัพย์)

  • 5.             ผลแห่งหนี้ (กำหนดเวลา 203, ลูกหนี้ผิดนัด 204-6, ผลการผิดนัด 216-7, 224, เจ้าหนี้ผิดนัด,
  • ค่าสินไหม)
  • 6.             การชำระหนี้พ้นวิสัย (ก่อนสัญญาเกิด, หลังสัญญาแต่ยังไม่เลือกการชำระหนี้, หลังเลือกการชำระหนี้)
  • 7.             รับช่วงสิทธิ์ (คนนอก, ชำระหนี้แล้ว, โดยผลกฎหมายเท่านั้น, มี 5 กรณี)

  • 8.             รับช่วงทรัพย์ (มี 2 หนี้, โดยผลกฎหมาย, ทรัพย์ถูกทำลาย, มี 2 กรณี คือ 228, 231)

  • 9.             การใช้สิทธิเรียกร้อง (หนี้ 2 หนี้, ไม่ส่วนตัว, ลูกหนี้ขัดขืนเพิกเฉย, เจ้าหนี้เสียเปรียบ, ต้องเรียกลูกหนี้)

  • 10.      เพิกถอนการฉ้อฉล (ไม่ใช้กับ ปพพ. 155 โมฆะอยู่แล้ว, ฝ่าฝืน วพ 305, ปพพ. 1300, ปพพ. 1336

  • 11.      ลูกหนี้ร่วม (หลายคน, หนี้เดียวกัน, ใช้หนี้โดยสิ้นเชิง, ผล 292-296)

  • 12.      เจ้าหนี้ร่วม (หลายคน, หนี้เดียวกัน, สิทธิเรียกหนี้โดยสิ้นเชิง, ผล 299, 300)

  • 13.      โอนสิทธิเรียกร้อง (โอนความเป็นเจ้าหนี้, สิทธิที่โอนไม่ได้ 303-4, วิธีการโอน 306, ผล 305, 307, 308)

  • 14.      ความระงับแห่งหนี้ (อย่าลืมผู้ค้ำ 698, ผู้รับจำนอง 744, ผู้รับจำนำ 769 หลุดพ้นจากความรับผิดด้วย)
  • -การชำระหนี้
  • -ปลดหนี้ (หนี้นั้นแม้ไม่ต้องทำเป็นหนังสือแต่ถ้ามีการทำเป็นหนังสือแล้วอยู่ภายใต้ 340 ด้วย)
  • -หักกลบลบหนี้ (เจ้าหนี้ลูกหนี้ผูกพันกัน, วัตถุแห่งหนี้เป็นอย่างเดียวกัน, ถึงกำหนดชำระหนี้ทั้ง 2 หนี้, แสดงเจตนา, ไม่ต้องห้าม 6 กรณี, ไม่ต้องฟ้องแย้งขอหักกลบได้, ใช้กับ วพ 293 ด้วย)
  • -แปลงหนี้ (มีหนี้เดิม, เปลี่ยนสาระสำคัญแห่งหนี้, ประสงค์ระงับหนี้เดิม, หนี้ใหม่ต้องสมบูรณ์)
  • -หนี้เกลื่อนกลืนกัน
  • หมายเหตุ ในเรื่องหนี้บุคคลภายนอกจะเข้ามาเป็นเจ้าหนี้ได้ 3 กรณี
  • 1. โอนสิทธิเรียกร้อง 2.รับช่วงสิทธิ 3.แปลงหนี้ใหม่
  • ทรัพย์
  • 1.             บททั่วไป 1298-1307
  • 2.             การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ 1308-1312, 1329-1332, 1336, 1338, 1349, 1350, 1356-9
  • 3.             สิทธิครอบครอง 1367, 1373, 1375 ว2, 1378, 1382
  • 4.             ภาระจำยอม 1387, 1399, 1400, 1401
  • กฎหมายอาญา 
  •                     1. กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคมให้เกิดความสงบเรียบร้อย โดยกำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญาและกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน
  •                     2. ลักษณะที่สำคัญของกฎหมายอาญา คือเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้งและไม่มีผลบังคับย้อนหลังที่เป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด
  •                     3. โทษทางอาญามี 5 ชนิด คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน4. การกระทำความผิดทางอาญามีบางกรณีที่กฎหมายยกเว้นโทษและยกเว้นความผิด
  •                     5. เด็กและเยาวชนกระทำความผิดอาจได้รับโทษต่างกับการกระทำความผิดของผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กและเยาวชนเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบ การลงโทษต้องคำนึงถึงอายุของเด็กกระทำความผิด
  • ·       กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด ตัวบทที่สำคัญๆ ของกฎหมายอาญาก็คือ ประมวลกฎหมายอาญา นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินั้น เช่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติการพนัน เป็นต้น
  •                 ทุกสังคมย่อมมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมนั้นๆ บุคคลใดมีการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ จัดเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงเป็นกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยการกำหนดว่า การกระทำใดเป็นความผิดอาญาและได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน กระทำความผิดนั้นๆ
  • ·       1. ความผิดทางอาญา
  •                 ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ   เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการกระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการกระทำ และสังคมมีความรู้สึกต่อการกระทำนั้นๆ ว่า อะไรเป็นปัญหาสำคัญมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะแบ่งการกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
  •                 1.1 ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึง ความผิดในทางอาญา ซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้ว ยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วย และรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความ แต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้
  •                 กรณีตัวอย่างที่ 1 นายมังคุดทะเลาะกับนายทุเรียน นายมังคุดบันดาลโทสะใช้ไม้ตีศีรษะนายทุเรียนแตก นายทุเรียนไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีกับนายมังคุดในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น ต่อมานายทุเรียนหายโกรธนายมังคุดก็ไม่ติดใจเอาเรื่องกับนายมังคุด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายทุเรียนต่อไปเพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
  •                 กรณีตัวอย่างที่ 2 นายแตงโมขับรถยนต์ด้วยความประมาทไปชนเด็กชายแตงไทยถึงแก่ความตายเป็นความผิดอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต่อมานายแตงกวาและนางแต่งอ่อนบิดามารดาของเด็กชายแตงไทย ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายแตงโมเป็นเงิน 200,000 บาทแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความกับนายแตงโม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายแตงโมต่อไป เพราะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
  •                 1.2 ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้น
  •                 กรณีตัวอย่างที่ 1 นายโก๋และนางกี๋ลักลอบได้เสียกัน นายแฉแอบเห็นเข้า จึงได้นำความไปเล่าให้นายเชยผู้เป็นเพื่อนฟัง การกระทำของนายแฉมีความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อนายโก๋และนางกี๋รู้เข้าจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ นายแฉไปหานายโก๋และนางกี๋  เพื่อขอขมานายโก๋และนางกี๋จึงถอนคำร้องทุกข์ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับนายแฉอีกต่อไป ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความกันได้
  •                 กรณีตัวอย่างที่ 2 นายตำลึงล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่บ้านของนายมะกรูด ทำให้นายมะกรูดออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ นายมะกรูดต้องปีนกำแพงรั้งกระโดลงมา การกระทำของนายตำลึงเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพ นายมะกรูดจึงไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ นายตำลึงได้ไปหานายมะกรูดยอมรับความผิด และขอร้องไม่ให้นายตำลึงเอาความกับตนเอง นายตำลึงเห็นใจจึงไปถอนคำร้องทุกข์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินคดีต่อไปอีกไม่ได้เพราะเป็นความผิดอันยอมความกันได้
  • ·       2. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา
  •                 2.1 เป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง ในขณะกระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายจะสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ เช่น กฎหมายบัญญัติว่า “การลักทรัพย์เป็นความผิด” ดังนั้น ผู้ใดลักทรัพย์ก็ย่อมมีความผิดเช่นเดียวกัน
  •                 2.2 เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง เป็นโทษไม่ได้แต่เป็นคุณได้ ถ้าหากในขณะที่มีการกระทำสิ่งใดยังไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำอย่างเดียวกันนั้นเป็นความผิด ก็จะนำกฎหมายใหม่ใช้กับผู้กระทำผิดคนแรกไม่ได้
  •                 กรณีตัวอย่าง นายมะม่วงมีต้นไม้สักขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นในที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเขา นายมะม่วงได้ตัดต้นสัก เลื่อยแปรรูปเก็บเอาไว้ ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 3 ออกมาบังคับใช้ ถือว่าไม้สักเป็นไม้หวงห้ามก็ตาม นายมะม่วงก็ไม่มีความผิด เพราะจะใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังลงโทษทางอาญาไม่ได้
  • ·       3. โทษทางอาญา
  •                 1) ประหารชีวิต คือ นำตัวไปยิงด้วยปืนให้ตาย
  •                 2) จำคุก คือ นำตัวไปขังไว้ที่เรือนจำ
  •                 3) กักขัง คือนำตัวไปขังไว้ ณ ที่อื่น ที่ไม่ใช่เรือนจำ เช่น นำไปขังไว้ที่สถานีตำรวจ
  •                 4) ปรับ คือ นำค่าปรับซึ่งเป็นเงินไปชำระให้แก่เจ้าพนักงาน
  •                 5) ริบทรัพย์สิน คือ ริบเอาทรัพย์สินนั้นเป็นของหลวง เช่น ปืนเถื่อน ให้ริบ ฯลฯ
  • ·       4. บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาและได้รับโทษทางอาญาเมื่อใด
  •                 บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อ
  •                 4.1 กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
  •                 กรณีตัวอย่างที่ 1 นายฟักรู้ว่านายแฟง ซึ่งเป็นศัตรูจะต้องเดินผ่านสะพานข้ามคลองหลังวัดสันติธรรมทุกเช้าเวลาประมาณ 08.00 น. เขาจึงไปดักซุ่มอยู่ใกล้บริเวณนั้น เมื่อนายแฟงเดินมาใกล้นายฟักจึงใช้ปืนยิงไปที่นายแฟง 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าอกของนายแฟง เป็นเหตุให้นายแฟงถึงแก่ความตาย นายฟักมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
  •                 กรณีตัวอย่างที่ 2 ดาวเรืองทะเลาะกับบานชื่น ดาวเรืองพูดเถียงสู้บานชื่นไม่ได้ ดาวเรืองจึงตบปากบานชื่น 1 ที่ ดาวเรืองมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนา
  •                 4.2 กระทำโดยไม่เจตนา แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยแจ้งชัดให้รับผิดแม้กระทำโดยไม่เจตนากระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ เช่น เราผลักเพื่อนเพียงจะหยอกล้อเท่านั้น แต่บังเอิญเพื่อนล้มลงไป ศีรษะฟาดขอบถนนถึงแก่ความตาย เป็นต้น
  •                 4.3 กระทำโดยประมาท แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทการกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
  •                 กรณีตัวอย่าง นายเหิรฟ้าใช้อาวุธปืนขู่นายเหิรลม เพื่อไม่ให้เอาแป้งมาป้ายหน้านายเหิรฟ้า โดยที่นายเหิรฟ้าไม่รู้ว่าอาวุธปืนกระบอกนั้น มีลูกกระสุนปืนบรรจุอยู่ เป็นเหตุให้กระสุนปืนลั่นไปถูกนายเหิรลมตาม นายเหิรฟ้ามีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
  •                 อนึ่ง “การกระทำ” ไม่ได้หมายความเฉพาะถึงการลงมือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการงดเว้นการกระทำโดยประสงค์ให้เกิดผลและเล็งเห็นผลที่จะเกิดเช่น แม่จงใจทิ้งลูกไม่ให้กินข้าว จนทำให้ลูกตาย ตามกฎหมายแม่มีหน้าที่จะต้องเลี้ยงดูลูก เมื่อแม่ละเลยไม่ทำหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้ลูกตาย ย่อมเป็นการกระทำความผิดโดยงดเว้น ถ้าการงดเว้นนั้นมีเจตนางดเว้นก็ต้องรับผิดในฐานะกระทำโดยเจตนา ถือว่าเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
  • ·       บุคคลจะต้องได้รับโทษทางอาญาต่อเมื่อ
  •                 1. การกระทำอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีความผิดโดยปราศจากกฎหมาย”
  •                 2. กฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นต้องกำหนดโทษไว้ด้วย เป็นไปตามหลักที่ว่า “ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย” การลงโทษต้องเป็นโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น กฎหมายกำหนดโทษปรับศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้ แม้ศาลจะลงโทษปรับศาลก็ลงโทษปรับเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้
  •                 กรณีตัวอย่าง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 372 บัญญัติว่า ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถานหรือกระทำโดยประการอื่นใด ให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณะสถานต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท  ดังนั้น ถ้าผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้  เพราะความผิดตามมาตราดังกล่าวกำหนดเฉพาะโทษปรับเท่านั้น ถ้าศาลจะลงโทษปรับก็จะปรับได้ไม่เกิน 500 บาท
  • ·       5. เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษ
  •                 โดยหลักทั่วไปแล้วบุคคลใดกระทำความผิดต้องรับโทษ แต่มีบางกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษ   เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษนั้น เป็นกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษผู้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด หมายความว่า ผู้กระทำยังมีความผิดอยู่แต่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ต่างกับกรณียกเว้นความผิด ซึ่งผู้กระทำไม่มีความผิดเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามทั้งเหตุยกเว้นและหยุดยกเว้นความผิดต่างก็มีผลทำให้ผู้กระทำรับโทษเหมือนๆกัน
  •                 เหตุยกเว้นโทษทางอาญา   
  •                 การกระทำความผิดอาญาที่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษถ้ามีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย เช่น
  •                     1. การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
  •                     2. การกระทำความผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
  •                     3. การกระทำความผิดเพราะความมึนเมา
  •                     4. การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
  •                     5. สามีภริยากระทำความผิดต่อกันในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางฐาน
  •                     6. เด็กอายุไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด
  • ·       6. เด็กและเยาวชนกระทำความผิด
  •                 เด็กอาจกระทำความผิดได้เช่นเดียวผู้ใหญ่ แต่การกระทำความผิดของเด็กอาจได้รับโทษต่างจากการกระทำของผู้ใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากเด็กเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบหรือขาดความรู้สึกสำนึกเท่าผู้ใหญ่ การลงโทษเด็กจำต้องคำนึงถึงอายุของเด็ก   ผู้กระทำความผิดด้วย   กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
  •                 1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
  •                 2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
  •                 3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
  •                 4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
  •             สำหรับเด็กในช่วงอายุไม่เกิน 7 ปี และเด็กอายุกว่า 7 ปีแต่ไม่เกิน 14 ปีเท่านั้น  ที่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ส่วนผู้ที่อายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี และผู้ที่มีอายุกว่า 17 ปี  แต่ไม่เกิน 20 ปี หากกระทำความผิดกฎหมายก็จะไม่ยกเว้นโทษให้ เพียงแต่ให้รับลดหย่อนโทษให้
  •                     6.1 เด็กอายุไม่เกิน 7 ปีการกระทำความผิด เด็กไม่ต้องรับโทษเลย ทั้งนี้เพราะกฎหมายถือว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถรู้ผิดชอบได้ ฉะนั้นจะมีการจับกุมฟ้องร้อยเกในทางอาญามิได้
  •                     6.2 เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด เด็กนั้นก็ไม่ต้องรับโทษเช่นกัน แต่กฎหมายให้อำนาจศาลที่จะใช้วิธีการสำหรับเด็ก เช่น
  •                             1) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป
  •                             2) เรียกบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
  •                             3) มอบตัวเด็กให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
  •                             4) มอบเด็กให้แก่บุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ เมื่อเขายอมรับข้อกำหนดที่จะระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
  •                             5) กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ
  •                             6) มอบตัวเด็กให้กับบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควร เพื่อดูและอบรมและสั่งสอนเด็กในเมื่อบุคคลหรือองค์การนั้นยินยอม
  •                             7) ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรม
  •                     6.3 เยาวชนอายุเกิน 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ให้ศาลพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้นในอันควรวินิจฉัยว่าสมควรพิพากษาลงโทษผู้นั้นหรือไม่ศาลอาจใช้วิธีการตามข้อ 6.2 หรือลงโทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ โดยลดมาตราส่วนโทษที่จะใช้กับเยาวชนนั้นลงกึ่งหนึ่ง ก่อนที่จะมีการลงโทษเยาวชนผู้กระทำความผิด
  •                     6.4 เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กระทำอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งก็ได้จะเห็นได้ว่า ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กฎหมายไม่ถือว่าเป็นเด็ก   แต่กฎหมายก็ยอมรับว่า บุคคลในวัยนี้ยังมีความคิดอ่านไม่เท่าผู้ใหญ่จริง จึงไม่ควรลงโทษเท่าผู้ใหญ่กระทำความผิด โดยให้ดุลพินิจแก่ศาลที่จะพิจารณาว่า สมควรจะลดหย่อนผ่อนโทษให้หรือไม่ ถ้าศาลพิจารณาสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับผู้กระทำความผิด เช่น ความคิดอ่าน การศึกษาอบรม ตลอดจนพฤติการณ์ในการกระทำความผิด เช่น กระทำความผิดเพราะถูกผู้ใหญ่เกลี้ยกล่อม หากศาลเห็นสมควรลดหย่อนผ่อนโทษให้ก็มีอำนาจลดมาตราส่วนโทษได้ 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งการลดมาตราส่วนโทษ คือ การลดอัตราโทษขั้นสูงและโทษขั้นต่ำลง 1 ใน 3  หรือกึ่งหนึ่งแล้ว จึงลงโทษระหว่างนั้น แต่ถ้ามีอัตราโทษขั้นสูงอย่างเดียวก็ลดเฉพาะอัตราโทษขั้นสูงนั้น แล้วจึงลงโทษจากอัตราที่ลดแล้วนั้น
  •                 กรณีตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2516 จำเลยอายุ 19 ปี ยอมมีความรู้สึกผิดชอบน้อย ได้กระทำความผิดโดยเข้าใจว่าผู้ตายข่มเหงน้ำใจตน ศาลเห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษลง 1 ใน 3
  • ·       สรุปสาระสำคัญ
  •                     1. กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด
  •                     2. ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ
  •                     3. การกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ  ความผิดต่อแผ่นดิน และความผิดอันยอมความกันได้ 
  •                     4. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง หรือเป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง
  •                     5. โทษทางอาญา มี 5 ชนิด
  •                                 1. ประหารชีวิต 2. จำคุก
  •                                 3. กักขัง 4. ปรับ
  •                                 5. ริบทรัพย์สิน
  •                     6. กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
  •                     7. กระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้
  •                     8. การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
  •                     9. กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
  •                             1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
  •                             2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
  •                             3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
  •                             4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
  • กฎหมายอื่นที่ควรรู้
  • กฎหมายรับราชการทหาร 
  •       ชายที่มีสัญชาติไทยตามกฎหมาย  มีหน้าที่เข้ารับราชการทหารทุกคนตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร  พุทธศักราช 2497 โดยการรับราชการทหารของชายไทยมีดังนี้  
  • ทหารกองเกิน  หมายความว่า  ผู้ที่ซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์  และยังไม่ถึงสามสิบปีบริบูรณ์
  • ทหารกองประจำการ หมายความว่า  ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการ  และได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลดทหารกองหนุน  หมายความว่า ทหารที่ปลดจากกองประจำการ  โดยรับราชการในกองประจำการจนครบกำหนดแล้ว  หืรอขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นกองหนุน (โดยปกติจะพ้นราชการทหารกองหนุนเมื่ออายุครบ  40 ปีบริบูรณ์ ยกเว้นผู้ทีผ่านการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร)
  • 1.  ชายสัญชาติไทยเมื่ออายุย่างเข้า  18 ปี  ในพุทธศักราชใดก็ต้องแสดงตนเพื่อลงบัญชีกองเกินที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของตนภายในเดือนพฤศจิกายนของปีนั้นๆผู้ที่ไม่สามารถ     ไปลงทะเบียนด้วยตนเองได้  ต้องให้ผู้ที่บรรลุนิติภาวะและพอเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน
  • 2.  ผู้ที่ยังมิได้ลงทะเบียนทหารกองเกินพร้อมกับคนชั้นเดียวกัน  เพราะเหตุใดก็ตามถ้าอายุยังไม่ถึง  46 ปีบริบูรณ์  ต้องปฏิบัติทำนองเดียวกับบุคคลในข้อที่ หนึ่ง ภายในสามสิบวันนับ แต่วันที่สามารถปฎิบัติได้ แต่ต้องแจ้งแทนไม่ได้
  • 3. ผู้ซึ่งได้รับยกเว้น ไม่ต้องลงบัญชีทหารกองเกิน ได้แก่  บุคคลซึ่งไม่มีวุฒิที่จะเป็นทหารได้เฉพาะบางท้องที่ตามกำหนดในกฎกระทรวง  พระภิกษุที่มีสมณะศักดิ์  หรือที่เป็นเปรียญและนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวนที่มีสมณะศักดิ์
  • 4. ผู้ซึ่งไม่ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน  ได้แก่ สามเณรเปรียญ  และผู้ซึ่งอยู่ในที่คุมขังของเจ้าพนักงาน
  • กฎหมายภาษีอากร
  • ภาษีอากร คือเงินที่รัฐ  หรือท้องถิ่นเก็บจากบุคคลทั่วไปเพื่อใช้จ่ายในการบริหารประเทศ หรือท้องถิ่น เช่นภาษีเงินได้  ภาษีบำรุงท้องที่  ภาษีโรงเรือนและที่ดิน  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีสรรพสามิต อากรแสตมป์ เป็นต้น ภาษีที่ควรรู้  คือภาษีบุคลเงินได้ธรรมดา
  • ภาษีเงินได้ธรรมดา  เป็นภาษีที่รัฐเรียกเก็บโดยคำนวณอัตราจากรายได้ของบุคคลในปีหนึ่งๆ รายได้ดังกล่าวนี้ตามกฎหมายเรียกว่า  "เงินได้พึงประเมิน"
  • เงินได้พึงประเมิน  หมายถึง  ตัวเงิน  ทรัพย์สิน  หรือประโยชน์ที่อาจคิดคำนวณเป็นเงิน หรือทั้งตัวเงินหรือทรัพย์สิน  หรือประโยชน์ปะปนกัน  โดยได้รับในระหว่างวันที่  1 มกราคม ถึง  31 ธันวาคม ของปีเดียวกัน ซึ่งเงินได้พึ่งประเมินแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่  เงินเนื่องจากการจ้างแรงงาน  เงินที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งที่ทำงาน  หรือจากการรับทำงานให้  เงินที่ได้ดอกเบี้ยต่างๆ เงินหรือประโยชน์อื่นๆ ที่ได้จากการเช่าทรัพย์สิน  เงินที่ได้จากอาชีพอิสระ  เงินที่ได้จากการรับเหมาและเงินที่ได้จากธุรกิจอื่นๆตามที่กฎหมายบัญญัติ
  • ผู้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียรายได้บุคคลธรรมดา  คือ บุคคลในคณะทูต  และบุคคลในคณะกงสุล
  • 1) การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้
  • การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น  ผู้เสียภาษีจะยื่นแบบแสดงรายการเสีนภาษี  เรียกว่าภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91  แล้วแต่กรณี ตามเกณฑ์ต่อไปนี้
  • 1. ผู้ที่เป็นโสด  มีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท
  • 2. คู่สมรส  มีเงินได้พึงประเมินไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายร่วมกันเกิน 60,000 บาท
  • 3. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง มีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท
  • 4. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลมีเงินได้พึงประเมินเกิน30,000 บาท ทั้งนี้สามีภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอกทั้งปีภาษี ถือว่าเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี
  • 2) การลดหย่อนภาษี  และการหักค่าใช้จ่าย  สามารถกระทำได้ดังนี้
  • 2.1 คู่สมรส กรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้    หรือคำนวณภาษี  ให้หักลดหย่อน  30,000 บาท และในกรณีภริยาแยกคำนวณภาษีหักค่าลดหย่อนของภริยา  30,000บาท
  • 2.2 บุตร  กรณีบุตรศึกษาอยู่ในประเทศให้หักค่าลดหย่อนได้คนละ  17,000 บาท หากแยกคำนวณภาษี ให้หักได้คน 8,500 บาท บุตรในที่นี้ต้องเป็นบุตรที่เห็นชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้สมรสและต้องเป็นผู้เยาว์ (อายุไม่ถึง 20 ปี หรือยังไม่บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส)  หรืออายุไม่เกิน 25  ปีและยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษา  หรือเป็นผู้ที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ
  • จำนวนบุตรที่มีสิทธิหักลกหย่อนคือที่เกิดก่อน พ.ศ.2523 ให้หักลดหย่อนได้ทุกคน และบุตรที่เกิดตั้งแต่  พ.ศ. 2523 หรือบุตรที่รับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ตั้งแต่  พ.ศ.2522 ให้หักรวมกัน (รวมกับบุตรที่เกิดก่อน  พ.ศ.2523 ได้ไม่เกินสามคน)
  • 2.3 บิดามารดา  ต้องมีอายุตั้งแต่  60 ปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ซึ่งหักลดหย่อนบิดามารดา สามารถหักได้คนละ30,000 บาท
  • 2.4 เบี้ยประกันชีวิต  ผู้มีเงินได้ที่สามารถหักค่าลดหย่อน เนื่องจากมีการประกันชีวิตนั้นกรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และเอาประกันภัยไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร  ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันได้ตามจ่ายจริงแต่ ไม่เกิน 100,000 บาท
  • 2.5 ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เพื่อซื้อ หรือเช่าซื้อ   หรือสร้างที่อยู่อาศัย ตามเงินที่ได้จ่ายจริงภาษีในปีนั้นแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  •        การหักค่าใช้จ่ายเงินได้พึงประเมิน  เนื่องจากการสร้างแรงงาน และหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ  หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 40 ของเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000บาท
  • กฎหมายระหว่างประเทศที่ควรรู้
  • กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง:เรื่อง สัญชาติ และ คนไร้สัญชาติ
  •            สัญชาติ หมายถึง ประเทศที่ที่บุคคลคนนั้นเกิด โดยไม่นับเชื้อชาติ การเปลี่ยนสัญชาตินั้นทำได้ แต่ต้องว่าตามกฎหมายของแต่ละประเทศ สัญชาตินั้นสำคัญมากเพราะจะทำให้คนอื่นรู้ว่าคุณเกิดที่ไหน ดังนั้นในแบบกรอกหลายอย่าง จึงมีช่องสัญชาติให้เติม สำหรับหนังสือเดินทาง จะต้องมีสัญชาติติดตัวอยู่ เพื่อที่จะได้ว่ามาจากประเทศอะไร
  •          คนไร้สัญชาติ
  •         คนไร้สัญชาติหมายถึงสภาพที่บุคคลที่ไม่มีสัญชาติของรัฐใดรัฐหนึ่งในโลกนี้เลย จากเหตุผลที่ตัวเขาเอง หรือบุพการี หรือกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติของประเทศต่าง ๆ ส่งผลให้คนเหล่านั้นกลายเป็น “คนไร้รัฐ” รวมทั้งกลายเป็น “คนต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย” ของทุกรัฐในโลกนี้
  •           นักวิชาการด้านกฎหมายสัญชาติ จำแนกสาเหตุความไร้สัญชาติในประเทศไทยไว้ 2 ลักษณะคือ
  •          1) ความไร้สัญชาติเพียงด้านข้อเท็จจริง (De facto Stateless)ความไร้สัญชาติด้านข้อเท็จจริง ซึ่งมีสาเหตุ 2 รูปแบบ ที่เป็นข้อบกพร่องทั้งผู้ปกครอง คือ พ่อแม่และในระบบราชการไทยมากที่สุด และผลักให้เด็กไทยที่มีสิทธิอยู่แล้วตามกฎหมาย กลายเป็นคนชายขอบ โดยเฉพาะเด็กๆ ที่เกิดและเติบโตในประเทศไทย ซึ่งหากสรุปว่ากลไกราชการนี้เองที่มีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิประชาชน และสิทธิมนุษยชน
  •         2) ความไร้สัญชาติทั้งด้านข้อกฎหมาย (De Jure Stateless) และ ความไร้สัญชาติโดยข้อเท็จจริง ความไร้สัญชาติด้านข้อกฎหมายนั้น พอเข้าใจ หมายถึงความจำกัด ว่า “ไม่มีกฎหมายใดเลย กำหนดกระบวนการ หรือวิธีให้สัญชาติแก่บุคคล”
  • คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นคนไทย แต่ถูกละเลยการให้สัญชาติ ไม่ใช่คนไร้สัญชาติคือไร้รัฐสังกัด และอันดับต่อมา คือคนที่อพยพ หนีภัย หรือมาตั้งรกรากนานเป็นชั่วอายุคน คนเหล่านี้ก็สำคัญ ที่ต้องพิจารณาให้สิทธิ ให้สถานะ ให้สัญชาติ และรวมทั้งคนที่อพยพหนีภัย กลับคืนถิ่นไม่ได้และสมัครใจตั้งรกรากอยู่ถาวรก็ต้องเร่งพิจารณาให้สถานะเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น