วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หน่วยที่ 5 ระบอบการเมืองการปกครอง

หน่วยที่ 5
ระบอบการเมืองการปกครอง
ระบอบการเมืองการปกครอง
    1. ลักษณะการเมืองการปกครอง
    2. การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    3. ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
    4. อิทธิพลของระบอบการเมืองการปกครองที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต
    5. สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
    6. การเป็นสมาชิกองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ

ลักษณะการเมืองการปกครอง

ประเทศต่างๆ ย่อมมีระบบการเมืองการปกครองที่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเชื่อว่าเหมาะสม กับสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม หากระบอบการเมืองการปกครองในขณะนั้นเกิดความไม่เหมาะสมต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนารูปแบบการเมืองการปกครองให้เหมาะสม ระบอบการปกครองที่ประเทศต่างๆ ใช้กันอยู่ มี 2 ระบอบ คือ ระบอบประชาธิปไตย และ ระบอบเผด็จการ
1.       ระบอบประชาธิปไตย
o   อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นอำนาจที่มาจากปวงชน ผู้ปกครองต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ
o   รัฐบาลต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ต้องไม่ละเมิดสิทธิ เว้นแต่เพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ
o   ประชาชนมีสิทธิเสมอภาคกันที่จะได้รับการบริการจากภาครัฐ
o   รัฐบาลยึดหลักนิติรัฐเป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศ และในการแก้ไขประเทศ ไม่ออกกฎหมายที่มีผลเป็นการลงโทษบุคคลย้อนหลัง
2.       ระบอบเผด็จการ
o   มีผู้นำหรือพรรคการเมืองเพียงกลุ่มเดียว มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
o   การรักษาความมั่นคงของผู้นำสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิของประชาชน
o   ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถอยู่ในอำนาจได้นานภายใต้การสนับสนุนของกองทัพ
o   รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง ไม่สำคัญต่อกระบวนการปกครอง โดยรัฐธรรมนูญเป็นเพียงแค่รากฐานรองรับอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้น



การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
1.       อำนาจนิติบัญญัติ รัฐสภา
o   สมาชิกวุฒิสภาอำนาจหน้าที่
·   พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
·   ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
·   ควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ
·   มีอำนาจในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
o   สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อำนาจหน้าที่
·   เสนอและพิจารณากฎหมาย
·   ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
·   มีสิทธิเข้าชื่อเพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
·   ควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
2.       อำนาจบริหาร
o   คณะรัฐมนตรี อำนาจหน้าที่
·   กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
·   รักษาความสงบเรียบร้อยเพื่อให้ประชาชนปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
·   ควบคุมข้าราชการประจำให้นำนโยบายไปปฏิบัติ และประสานงานกับกระทรวงต่างๆ ให้เป็นไปในทางเดียวกัน
·   ออกมติต่างๆ เพื่อให้กระทรวง กรมต่างๆ ถือปฏิบัติ และเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ
3.       อำนาจตุลาการ ศาล
o   ศาลรัฐธรรมนูญ
·   พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภา
·   พิจารณาวินิจฉัยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
·   พิจารณาปัญหาหน้าที่ขององค์กรต่างๆ
o   ศาลยุติธรรม
·   พิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง
·   พิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญาที่มีการอุทธรณ์
·   พิจารณาคดีตามที่กฎหมายบัญญัติ
o   ศาลปกครอง
·   พิจารณาคดีที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจทางการปกครองตามกฎหมาย
ตามที่กฎหมายบัญญัติ
o   ศาลทหาร
·   พิจารณาคดีอาญาซึ่งผู้กระทำผิด
เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
1.       ฐานะและพระราชอำนาจ
o   ทรงอยู่ในฐานะประมุขของประเทศ
o   ทรงเป็นกลางทางการเมือง
o   ทรงดำรงตนในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ
o   ทรงเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย
o   ทรงเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของคนในชาติ
อิทธิพลของระบอบการเมืองการปกครองที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต
o   ประชาชนทุกคนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของระบอบการเมืองการปกครองไม่ว่าจะเป็นระบอบเผด็จการ หรือระบอบประชาธิปไตย ย่อมส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน อาจดีขึ้นหรือเลวร้ายลง ขึ้นอยู่กับการนำมาใช้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสังคมของประเทศนั้นๆ
o   อิทธิพลของระบอบการเมืองการปกครอง
1.       ทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
2.       ประชาชนเกิดตระหนักในสิทธิและหน้าที่ของตนเองต่อการปกครอง
3.       ทำให้ประชาชนตื่นตัวทางการเมือง มีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง
4.       ทำให้เกิดการแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
5.       ทำให้คนในท้องถิ่นร่วมมือกันปกป้องผลประโยชน์ของท้องถิ่นตน
สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
o   ปัญหาทางการเมือง
1.  ความคิดเห็นทางการเมืองของคนไทยแตกต่างกัน
2.  ความอ่อนแอของฝ่ายบริหาร
3.  พรรคการเมืองมีจำนวนมากเกินไป
4.  เกิดปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นในวงกว้าง
5.       นักการเมืองบางคนอาศัยอำนาจทางการเมืองเพื่อหาผลประโยชน์ให้กับตนเอง



การเป็นสมาชิกองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ
1.       องค์การสหประชาชาติ (UN)
o   วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
·         รักษาสันติภาพ ความมั่นคง และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมกันของมนุษย์
·         ส่งเสริมประชาธิปไตย สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค บนพื้นฐานของหลักความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ
·         อนุรักษ์และบูรณะสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม
2.       สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN
o   วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
·   ส่งเสริมเสถียรภาพ สันติภาพ และความมั่นคงภายในภูมิภาค
·   เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศนอกภูมิภาค
·   เพื่อเร่งรัดความเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรมของภูมิภาค
·   ส่งเสริมความร่วมมือในทางวิชาการ ทั้งการฝึกอบรม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการวิจัย
3.       เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
o   วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
·   ส่งเสริมการค้าในอาเซียนให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น
·   ลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้า เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ
·   เพิ่มขีดความสามารถในการต่อรองทางการค้าโลก
·   เป็นเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นหากถูกเอารัดเอาเปรียบทางการค้าจากประเทศอื่น
4.       ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (APEC)
o   วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
·   ส่งเสริมและพัฒนาระบบการค้า เพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก
·   เป็นเวทีสำหรับให้สมาชิกปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันทางด้านเศรษฐกิจ
·   ส่งเสริมให้การค้าและการลงทุนเป็นไปอย่าเสรี
·   ลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกทางการค้าและบริการระหว่างประเทศสมาชิก



5.       องค์การการค้าโลก (WTO)
o   วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
·   ส่งเสริมให้การค้าระหว่างประเทศเป็นไปโดยเสรีมากขึ้น
·   ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติ
·   กำกับดูแลการดำเนินงานของประเทศสมาชิกให้เป็นไปตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก
·   ยุติข้อพิพาทที่อาจมีขึ้นระหว่างประเทศสมาชิก
·   เป็นเวทีเจรจาการค้าของประเทศสมาชิก
·   ติดตามและตรวจสอบนโยบายทางการค้าของประเทศสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น