วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

5.ความหมายของสถาบันสังคม

5.ความหมายของสถาบันสังคม


  • สถาบันสังคมหมายถึง กระบวนการที่มนุษย์ในสังคมได้จัดตั้งให้มีขึ้นอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ซึ่งบุคคลส่วนใหญ่ในสังคมย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และเพื่อทำหน้าที่สนองความต้องการที่จำเป็นของสังคม โดยสถาบันสังคมไม่ใช่ระบบพฤติกรรมที่สังคมกำหนดขึ้นแต่เป็นแนวทางในการปฏิบัติสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเป็นระเบียบแบบแผน แบ่งออกตามความต้องการของมนุษย์

ลักษณะของสถาบันสังคม
  • 1. สถาบันสังคมเป็นนามธรรม สถาบันสังคมไม่ใช่ตัวบุคคลหรือกลุ่มคนและไม่ใช่วัตถุสิ่งของที่จับต้องได้ แต่เป็นแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติร่วมกันของสมาชิกทุกคน
  • 2. สถาบันสังคมเกิดจากการเชื่อมโยงบรรทัดฐานต่างๆ ทางสังคม
  • 3. สถาบันเกิดขึ้นเพื่อสนองความต้องการในด้านต่างๆ ร่วมกันของสมาชิกในสังคม
  • 4. สถาบันสังคมเกิดจากการยอมรับร่วมกันของสมาชิกในสังคม

องค์ประกอบของสถาบันสังคม
  • 1. กลุ่มสังคม ประกอบด้วยกลุ่มสังคมต่างๆ ที่ทำหน้าที่สนับสนุนให้เกิดการกระทำทางสังคมระหว่างสมาชิกบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
  • 2. หน้าที่สถาบันทางสังคม หมายถึง วัตถุประสงค์ในการตอบสนองความต้องการของสังคมในด้านต่างๆ
  • 3. แบบแผนพฤติกรรมในการประพฤติปฏิบัติของสมาชิกที่ชัดเจน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถาบันนั้น 
  • 4. สัญลักษณ์และค่านิยม ทำให้สมาชิกเกิดอุดมการณ์และศรัทธาต่อสถาบันทางสังคม


สถาบันสังคมจะแบ่งได้เป็นดังนี้
     1. สถาบันครอบครัว หมายถึง สถาบันสังคมที่เกี่ยวข้องกับแบบแผนการสมรส
การอบรมเลี้ยงดูบุตรและแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องทางสังคม
เป็นสถาบันพื้นฐานที่มีความสำคัญที่สุดของสังคม
     2. สถาบันการศึกษา หมายถึงการขัดเกลาและการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับแบบแผนการให้ความรู้และการฝึกฝนทักษะอาชีพ เพื่อเป็นสมาชิกที่เหมาะสมของสังคม
     3. สถาบันศาสนา หมายถึงความศรัทธาต่อสิ่งที่เคารพบูชาของสมาชิกในสังคม สถาบันศาสนามีความเกี่ยวข้องแบบแผนความสัมพันธ์ต่อการหล่อหลอม ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาชิกในสังคม
    4. สถาบันทางเศรษฐกิจ มีความเกี่ยวข้องกับแบบแผนการตอบสนองความต้องการเกี่ยวกับความจำเป็นทางด้านสิ่งอุปโภคบริโภคในการดำรงชีวิต
    5. สถาบันทางการเมืองการปกครอง มีความเกี่ยวข้องกับแบบแผนที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองความต้องการของสมาชิกในการดำรงชีวิตตามกฎระเบียบสังคม ควบคุมกลุ่มคนต่างๆ ในสังคมให้ดำรงชีวิตร่วมกันอย่างมีระเบียบ และมีความปลอดภัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น