วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แนวคิดเทคนิคการเรียนการสอน

แนวคิดเทคนิคการเรียนการส

แนวคิดเทคนิคการเรียนการสอน


หลัก 3 ประการของการเรียนการสอนแบบออนไลน์
(Key of Online Learning)


         บทความนี้จะกล่าวถึง หลัก 3 ประการในการเตรียมความพร้อมของผู้สอนในการเตรียมตัวสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) โดยเฉพาะการเรียนรู้แบบออนไลน์ (Online Learning) ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบหลักดังกล่าวนี้ เป็นส่วนที่สำคัญสำหรับผู้สอนในการนำมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) โดยเฉพาะโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในขณะนี้คือ ห้องเรียน DLIT, Google Apps for education, Office 365 ผู้สอนควรมีหลัก 3 ประการดังนี้

1. การเตรียมการเชิงรุก (Proactive) 

     1.1 ความรู้ความเข้าใจในหลักสูตร (Know your course) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานมาจากผู้เรียนที่ท่านได้ทำการสอนมาแล้ว เช่น ปัญหาในการสอน ปัญหาในการเรียน ข้อคำถาม ข้อเสนอแนะต่างๆ ในชั้นเรียนของท่าน เพื่อนำมาใช้เป็นหลักสูตรในการจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อไป

     1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน (Seek information about your students) การค้นหา เก็บข้อมูลของผู้เรียน ทั้งในแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการะบวนการจัดการเรียนการสอน แบบออนไลน์ ท่านควรจะต้องรู้ว่า ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนไหม สามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสะดวกมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรการสอนของท่าน ว่าผู้เรียนรู้สึกอย่างไรในการเรียน ผู้เรียนพูดคุย กันในเรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับวิธีการสอนและหลักสูตรออนไลน์ของท่าน เพื่อที่จะได้นำมาใช้ช่วยเหลือ หรือเพิ่มเติมให้ผู้เรียนในครั้งต่อไป

     1.3 ความรู้สึกดีในครั้งแรก (Good sense) ผู้สอนควรสร้างความรู้สึกที่ดีในครั้งแรกที่เข้าเรียนในหลักสูตร เช่น กล่าวคำตอนรับในหน้าแรก หรือการสร้างความประทับใจด้วยข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน เช่น ชื่อเล่น วันเกิด หรือสิ่งที่ผู้เรียนชื่นชอบ

     1.4 โพสต์ประกาศสม่ำเสมอ (Post regular announcements) ผู้สอนควรโพสต์ประกาศแจ้งข้อมูล

ข่าวสาร หรือความก้าวหน้าในด้านต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้เรียน ร่วมไปถึงวันที่จะครบกำหนดของกิจกรรมต่างๆ ที่มีประโยชน์สำหรับผู้เรียน เพื่อที่ผู้เรียนจะได้ทราบกำหนดการต่างๆ ในการจัดการภาระงานตามที่ได้รับมอบหมาย และส่งงานได้ทันตามกำหนดเวลา

     1.5 มีการติดต่อสื่อสารอย่างชัดเจนกับนักเรียนที่ขาดหายไป (Communicate clearly with students on missing) ผู้สอนควรมีการออกแบบระบบการติดตามผู้เรียนที่ขาดหายไปจากระบบการเรียนการสอนออนไลน์ โดยอาจมีการประสานกับผู้เรียนโดยตรง หรือผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ด้วยวิธีการส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าเรียนด้วยกระบวนการกลุ่มย่อยร่วมกับเพื่อในชั้นเรียน หรือสอบถามและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพื่อลดข้อผิดพลาดในการเข้าเรียน หรือทำกิจกรรมในห้องเรียนออนไลน์ครั้งต่อไป

2.ความเป็นมืออาชีพ (Professional)

     2.1 การตอบสนองตลอดเวลา (Timely responses are expected) ผู้สอนควรมีการปฏิสัมพันธ์อยู่ตลอดเวลากับผู้เรียน โดยเฉพาะเมื่อมีข้อคำถาม ข้อสงสัย หรือการสอบถาม แจ้งปัญหาการใช้งานต่างๆ ในขณะที่ผู้เรียน กำลังเรียนอยู่ หากผู้เรียนได้รับการตอบสนองในทันที หรืออย่างช้าไม่ควรเกิด 1 วัน การปฏิสัมพันธ์อย่างรวดเร็วจะส่งผลให้เกิดผลดีต่อความรู้สึกของผู้เรียน ทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆ ในชั้นเรียนออนไลน์ให้ประสบผลสำเร็จ

     2.2 กำหนดเวลาในการทำงาน (Office Hours) ผู้สอนควรกำหนดเวลานัดหมายในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือผู้เรียนกับผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาในการทำงานหรือกิจกรรมร่วมกันผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ผ่านทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น skype, Line, FaceTime

     2.3 การโพสต์ และการมอบหมายภารกิจที่ชัดเจน (Create a standard of quality assignments and postings) ผ่านรูปแบบการสื่อสารออนไลน์ที่มีความเหมาะสม มีความถูกต้องสอดคล้องกับความพร้อมของผู้เรียนในการรับข้อมูลข่าวสารจากการการโพสต์ และการมอบหมายภารกิจ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถรู้และเข้าได้ในทันทีโดยที่ไม่ต้องตีความ การโพสต์และการมอบหมายภารกิจที่ดี มีคุณภาพจะทำให้กิจกรรม หรือภารกิจที่ได้รับมอบหมายสำเร็จตามเป้าหมายที่ผู้สอนได้วางไว้

     2.4 ใช้ภาษาในการสื่อสารอย่างมืออาชีพ (Use professional language) ผู้สอนควรใช้ภาษาในการสื่อสารกับผู้เรียนด้วยความรอบคอบและครอบคุมทุกประเด็นของกิจกรรมอย่างมืออาชีพ ควรงดการใช้ภาษาที่ใช้คำย่อและสั้น ทำให้สื่อความหมายไม่ชัดเจน ไม่ตรงกับสิ่งที่จะสื่อออกไป ส่งผลให้ผู้เรียนสับสนหรือต้องตีความหมายจากภาษาที่ใช้คำย่อและสั้น ส่งผลให้ภารกิจหรือกิจกรรมอาจล้มเหลว หรือได้ผลงานที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของภารกิจ ดังนั้นการใช้ภาษาในการสื่อสารที่ดีควรกระชับได้ใจความ ตรงประเด็นไม่สั้น ไม่ยาวจนเกินไป

3. สร้างความน่าสนใจ (Personable)

     3.1 ในการตอบคำถามหรือข้อสงสัยของผู้เรียน ผู้สอนควรเลือกใช้คำตอบที่สร้างสรรค์ ส่งเสริมกำลังใจและความรู้สึกที่ดีให้กับผู้เรียน โดยเพิ่มเติมข้อเสนอแนะในการให้คำตอบกับผู้เรียน

     3.2 ผู้สอนควรตั้งคำถามจากมุมมองของผู้สอน เพื่อสื่อสารแนวทางใหม่ ประเด็นใหม่ หรือชี้นำให้ผู้เรียนได้เกิดความคิด หรือข้อสงสัยเพื่อนำไปสู่การค้นหาความรู้ใหม่ของผู้เรียน

3.3 การให้ผลตอบกลับ ไม่ว่าจะเป็นการติ หรือการชมจากผู้สอน ควรให้ความสำคัญกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้สอนต้องรู้และเข้าใจถึงระดับในการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นในการให้ผลย้อนกลับไปถึงผู้เรียน ผู้สอนควรมีข้อเสนอแนะที่มีความแตกต่างกันจากผลการทำงานของผู้เรียนแต่ละคน หรือกลุ่มผู้เรียน โดยอาจให้ผลตอบกลับเป็นการส่วนตัวกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้และเข้าใจในกิจกรรม หรือภารกิจที่แตกต่างกันมากยิ่งขึ้น

3.4 ควรมีการแนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมที่อาจนำไปสู่ความลึกซึ้งของเนื้อหามากยิ่งขึ้นจากกิจกรรมในระหว่างการจักการเรียนการสอน

สรุป

     ในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) โดยเฉพาะแบบออนไลน์(Online) ผู้สอนควรมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้ที่มีความแตกต่างกันของผู้เรียน โดยผู้สอนต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนบนสภาพแวดล้อมแบบออนไลน์ (Online Learning Environment) สำหรับใช้ในการโน้มน้าวให้ผู้เรียนมีความสนุก มีความสนใจอยากเข้ามาเรียนรู้ หรือทำกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นแนวทางดังกล่าวเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ผู้สอนได้รู้ เข้าใจ และให้ความสำคัญกับการให้กำลังใจผู้เรียน เพื่อให้การนำการเรียนรู้แบบออนไลน์ (Online Learning) มาใช้เกิดประโยชน์และได้ผลสัมฤทธิ์ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้สอน

ที่มา 
Karen Barnstable. (2012). Three “P”s of Online Instruction  (Online) https://kbarnstable.wordpress.com/2012/09/05/three-ps-of-online-instruction/ สืบค้นเมื่อ 30 ก.ย. 2558


ความสำเร็จในการปฏิรูปการ



ความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21


  • ผลผลิตของครู คือ “ศักยภาพที่สูงขึ้นของผู้เรียน” ไม่เหมือกับผลผลิตของเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่เป็น “วัตถุสิ่งของ” 
  • แต่ผลผลิตของคุณครูและโรงเรียน เป็นคน “ที่มีจิตวิญญาณ และ แนวความคิด”..ซึงจิตวิญญาณและแนวความคิดนี้ เกิดจากการหล่อหลอมของสังคม อย่างที่เรียกว่า Social Negotiation 
  • และสังคมของคุณครูในวันนี้ “ได้สูญเสียเอกลักษณ์ไทย Thai Identity” คือ “ความเป็นพี่น้อง Affinity ขาดหายไป”.. . “ความกลมเกลียวกัน Love harmony ขาดหายไป” 
  • สิ่งเหล่านี้เป็นผลทำให้โรงเรียน “ขาดเอกภาพ Lack of Unity” อันเป็นต้นตอของความล้มเหลวทั้งมวลของการบริการจัดการในโรงเรียน..
  • และกล้ารับรองได้เลยว่า “การใช้พระเดช คืออำนาจการบริหาร หรือ Executive powers” กับคุณครูเพียงอย่างเดียวนั้น คือ “ความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง หรือ Failure entirely”...


  • ในการปฏิรูปการเรียนการสอน เพื่อการศึกษาของศตวรรษที่ 21.จึงต้อง 
    • เปลียนแนวคิดของผู้บริหารสถาน ศึกษาเป็นเรื่องแรก Change the concept of school administrators first.
    • เปลี่ยนการสอนของครู Change Teaching Approach 
    • และ เปลี่ยนวิธีเรียนของนักเรียน Change the way of Learning 
    • นี้เรียกว่า “การปรับปรุงสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ ก่อนการเปลี่ยนแปลง"
หลักปฏิบัติ 12.ประการ สำหรับผู้บริการสถานศึกษา 

  • ผู้อำนวยการโรงเรียน “ควรต้องทำ Should be” หากต้องการความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21.

  • 1. An effective school leader leads by example ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็น “ผู้นำทำก่อน” ทำตัวให้เป็นตัวอย่าง leads by example เช่น ความพยายามทุกทางในการยกระดับการเรียนรู้ มีน้ำใจเอื้ออาทรดูแลทุกข์สุขของบุคลากรและนักเรียนทุกคนด้วยหลักเมตตาธรรม สิ่งเหล่านี้ไม่มีในตำรา แต่มันเป็น “ทักษะชีวิต Life Skill” ของมนุษย์ เห็นความคิดต่างเป็นอุปกรณ์สร้างปัญญา เป็นนักสมานสามัคคี เป็นนักกิจกรรมการเรียนรู้..เป็นบุคคลตัวอย่างแห่งการเรียนรู้..เป็นพี่เป็นน้องตามควรแก่ฐานะและความเหมาะสม ฯ.
  • 2. An effective school leader has a shared vision ผู้นำสถานศึกษา “ต้องเป็นนักแชร์วิสัยทัศน์ shared vision” นี้เป็นหลักการสำคัญ เปรียบว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” และ “เป้าหมายที่เราต้องร่วมรบให้ชนะ We Need to win the battle” คือ อุปสรรคที่ขัดขวางความเจริญงอกงามทางการศึกษาและการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน นั่นเอง
  • 3. An effective school leader is well respected ผู้บริหารสถานศึกษา “ต้องใช้ประสิทธิภาพการบริหารการศึกษาของตน”สร้างการ “ยอมรับ Well Respected” ไม่ใช่ “อำนาจการบริหาร”
  • 4. An effective school leader is a problem solver ผู้บริหารสถานศึกษา “ต้องเป็นนักแก้ปัญหา problem solver”ร่วมกับคณะครู “มิใช่นักสั่งการแก้ไข Not a Fixed Order เพราะรากเง้าของปัญหาจะยังคงอยู่ และสร้างปัญหาอีกต่อไปไม่จบสิ้น”
  • 5. An effective school leader is selfless ผู้นำสถานศึกษา “ต้องไม่เห็นแก่ตัว Selfless” 
  • 6. An effective school leader is an exceptional listener ผู้นำสถานศึกษา “ต้องเป็นผู้ฟังที่ยอดเยี่ยม exceptional listener”และสามารถแสดง “วิสัยทัศน์ Point of View”ของตนอย่างแจ่มชัด
  • 7. An effective school leader adapts ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสามารถ “ปรับตัว”ให้เขากับสถานการณ์ และสิ่งแวดลอม ได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข
  • 8. An effective school leader understands individual strengths and weaknesses. ผู้บริหารสถานศึกษา “ต้องเข้าใจ จุดอ่อน และจุดแข็ง Strengths and Weaknesses”ของทั้งตนเองและผู้อื่น เพื่อ “ใช้คน ให้เหมาะกับงาน Put the Right Man on the Right Job.”
  • 9. An effective school leader makes those around them better ผู้บริหารสถานศึกษาที่ดีต้อง “พยายามทำให้คนรอบข้างมีแต่ความสุขความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน”
  • 10. An effective school leader admits when they make a mistake ผู้บริหารสถานศึกษาที่ดี “ต้องยอมรับสภาพความผิดในฐานะหัวหน้างาน” เมื่อผู้ให้บังคับบัญชาทำผิด
  • 11. An effective school leader holds others accountable ผู้นำสถานศึกษาที่ดี “ต้องร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองได้มอบหมายให้ผู้อื่นทำ Holds Others Accountable”
  • 12. An effective school leader makes difficult decisions ผู้นำสถานศึกษา “เป็นผู้ตัดสินใจในสถานการณ์ที่ยากลำบาก makes difficult decisions”ภายใต้หลักการ “ ระดมความคิด หรือ Brainstorming กับผู้ร่วมงานอย่างเหมาะสมและจริงใจ

ขอบคุณข้อมูล สุทัศน์ เอกา...........................บอกความ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น