วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เรื่องที่ 1 สังคมมนุษย์

เรื่องที่ 1 
สังคมมนุษย์

สาระการเรียนรูแกนกลาง

  • 1. โครงสรางทางสังคม 
  • 2. การขัดเกลาทางสังคม 
  • 3. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม 
  • 4. การแกไขปญหาและแนวทางการพัฒนาทางสังคม
จุดประสงคการเรียนรู
  • 1. อธิบายความหมายและองคประกอบของโครงสราง ทางสังคม การจัดระเบียบทางสังคมได 
  • 2. วิเคราะหปจจัยการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได 
  • 3. วิเคราะห์ปญหาสังคมเสนอแนวทางการแกไขปัญหา และแนวทางการพัฒนาสังคมได
แนวคำถามการเรียน
  • 1. เพราะเหตุใด เราจึงจำเปนตองเรียนรูสังคมของ ตนเองและสังคมอื่นๆ ในโลก 
  • 2. สังคมไทยมีลักษณะสำคัญอยางไร 
  • 3. ปญหาของสังคมไทยสวนใหญ มีสาเหตุมาจาก อะไรบาง

1.สังคมมนุษย์
  • 1. องค์ประกอบของสังคม สังคม คือ การที่กลุมคนตั้งแตสองคน ขึ้นไปมาอยูรวมกันอยางถาวรในอาณาบริเวณ เดียวกัน จนพัฒนาเปนสังคมขนาดใหญ ไดมี การปฏิสัมพันธตอกัน พึ่งพาอาศัยกัน มีการ จดระเบียบทางสังคมในการอยู่ร่วมกัน เพื่อช่วยกันแกไขปญหาและตอบสนองความตองการของ สมาชิกในสังคม นักสังคมวิทยามีความคิดวา “มนุษยเปนสัตวสังคม” เนื่องจากโดยธรรมชาติ แลวมนุษยไมสามารถจะดำรงชีวิตอยูคนเดียวได แตมีความจำเปนที่จะตองอยูรวมกันเปนกลุม เปนสังคม
  • การที่สังคมจะกอกำเนิดขึ้นมาไดนั้น จะตองอาศัยองคประกอบหลายประการดวยกัน โดยมี องคประกอบที่สำคัญ ดังนี้ 
    • 1) ประชากร ซึ่งจะตองมีจำนวนตั้งแต 2 คนขึ้นไป โดยสังคมที่มีขนาดเล็กที่สุดคือครอบครัว ที่มีพอ แม หรือ พอ แม ลูก ขณะที่ชุมชนหรือหมูบานจะมีสมาชิกมากขึ้น จนเปนอำเภอ จังหวัด ภาค และประเทศ จนไปถึงสังคมโลกที่มีประชากรอาศัยอยูรวมกันราว 6,000 ลานคน 
    • 2) ความสัมพันธประชากรหรือสมาชิกในสังคมจะตองมีความสัมพันธและการปฏิสัมพันธ ระหวางกัน 
    • 3) พื้นที่หรืออาณาเขต โดยพื้นที่อาจมีขนาดจำกัด เชน บริเวณบานของครอบครัวหนึ่ง หรือบริเวณกวางขวางเปนอำเภอ เมือง จังหวัด เปนตน

2. โครงสรางทางสังคม
  • มนุษยเมื่อมาอยูรวมกันเปนสังคมยอมตองติดตอสัมพันธกัน รวมทั้งมีหนาที่ความรับผิดชอบ ที่จะตองปฏิบัติตอกัน เพื่อใหสังคมดำรงอยูและมีความเจริญกาวหนา 
  • การอยูรวมกันในสังคมจะตองมี การวางรูปแบบและกฎเกณฑของพฤติกรรม กระบวนความสัมพันธระหวางบุคคลและระหวางกลุม เพื่อใหสมาชิกยึดถือและปฏิบัติตาม 
  • ดังนั้น มนุษยจึงตองสรางหลักค้ำจุนหรือโครงสรางทางสังคมขึ้นมา เพื่อที่จะชวยใหสังคม ดำรงอยูได้และมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น 
  • เราสามารถแบงกลุมความสัมพันธ ของคนในสังคมออกไดเปน สถาบันทางสังคมประเภทตางๆ แตในความเปนจริง ความสัมพันธของคนในสังคมจะเชื่อมโยงกันไปหมด ซึ่งการเชื่อมโยงกันในลักษณะนี้เรียกวา “โครงสรางทางสังคม” 
  • ดังนั้น จึงกลาวไดวาโครงสรางทางสังคม หมายถึง ความสัมพันธของบุคคลที่มาอยูรวมกันในสังคม และไดปฏิบัติตอกันตามสิทธิหนาที่ของตนเอง รวมทั้งมีการกำหนดกฎระเบียบและแบบแผน ของสังคมขึ้น 
  • และเมื่อพฤติกรรมตางๆ ของ สมาชิกในสังคมมีการเชื่อมตอกัน จึงมีการแบง เปนหมวดหมูตามสถาบันทางสังคมแตละ ประเภทและกลายเปนโครงสรางทางสังคม ขึ้นมา ซึ่งถาขาดสถาบันใดสถาบันหนึ่งจะทำให โครงสรางทางสังคมไมสมบูรณ์
  • องคประกอบของโครงสรางทางสังคม เกิดขึ้นจากการที่มนุษยมาอยูรวมกันเปนจำนวนมาก และเพื่อใหเกิดความเปนระเบียบเรียบรอย 
  • จึงไดกำหนดกฎระเบียบเปนแนวทางในการปฏิบัติรวมกันขึ้น เพื่อใหสมาชิกในสังคมไดรูจักหนาที่ความรับผิดชอบของตนเอง 
  • องค์ประกอบของโครงสร้างทางสังคม มี 2 ประการ คือ สถาบนทางสังคม และการจดระเบียบทางสังคม 
โครงสรางทางสังคม
  • 1.การจัดระเบียบทางสังคม
    • กลุมคนที่จัดระเบียบ
      • ครอบครัว 
      • สมาคม 
      • กลุมทางสังคม ชุมชน
    • กระบวนการจัดระเบียบ
      • บรรทัดฐาน 
      • สถานภาพ 
      • บทบาท
  • 2.สถาบันทางสังคม
    • สถาบันครอบครัว
    • สถาบันเศรษฐกิจ
    • สถาบันการเมือง 
    • สถาบันการศึกษา 
    • สถาบันศาสนา

3. สถาบันทางสังคม
  • สถาบันทางสังคม หมายถึง ยอดรวมของรูปแบบความสัมพันธกระบวนการ และวัสดุ อุปกรณที่สรางขึ้นเพื่อสนองประโยชนสำคัญๆ ทางสังคมในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 
  • โดยทุกสถาบันยอมมี ประเพณีจารีต กฎเกณฑธรรมเนียมปฏิบัติและสิ่งของอุปกรณ เชน อาคารสถานที่ เครื่องจักรกล อุปกรณสื่อสาร เปนตน 
  • ทั้งนี้สถาบันทางสังคมตามนัยแหงสังคมวิทยานั้น มิใชจะปรากฏออกมาในรูปแบบที่เห็น อยางเปนทางการ 
  • เชน การอยูรวมกันเปนครอบครัว (สถาบันครอบครัว) ธนาคาร สำนักงาน ตลาดสด (สถาบันทางเศรษฐกิจ) โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย (สถาบันการศึกษา) เทานั้น 
  • หากแตยังรวมถึง รูปแบบที่ไมเปนทางการ หรือมองไมเห็นเปนถาวรวัตถุอีกดวย ซึ่งสมาชิกแตละคนในสังคมจะมีความ สัมพันธตอกันตามระเบียบที่แตละสถาบันไดกำหนดเอาไว สถาบันทางสังคมที่สำคัญสามารถจำแนกประเภทไดดังนี้
  • 3.1 สถาบันครอบครัว 
    • สถาบนครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานของมนุษย เปนสถาบันที่คงทนถาวรและมีบทบาท ตอชีวิตมนุษยมาก ครอบครัวไทยที่ อาศัยอยูในเขตเมือง สวนใหญ มีลักษณะเปนครอบครัวขนาดเล็กหรือ ครอบครวเดี่ยว 
    • ซึ่งประกอบดวยพ่อ แม ลูก สวน ครอบครัวขนาดใหญหรือครอบครัวขยาย ซึ่ง ประกอบดวย พอ แม ลูก และปูยา ตายาย หรือมีญาติพี่นองอาศยรั วมกัน มักปรากฏในเขตชนบท 
    • สถาบันครอบครัวมีหนาที่พึงปฏิบัติตอกัน เพื่อใหเกิดประโยชนและความมั่นคงตอ ครอบครัวในด้านต่างๆ  เชน ใหกำเนิดสมาชิกของครอบครัว อบรมสั่งสอนใหสมาชิกในครอบครัว เรียนรูระเบียบแบบแผนของสังคม เปนตน
  •  3.2 สถาบันการเมืองการปกครอง 
    • สถาบันการเมืองการปกครองเปนหนวยควบคุมสังคม ปองกันการขัดแยงกันระหวางสมาชิก เพราะบางครั้งการตกลงร่วมกัน ตามบรรทัดฐานของสังคมยังไม่สามารถช่วยให้การจัดระเบียบทางสังคม ไดผลเต็มที่นัก 
    • ซึ่งสถาบันการเมืองการปกครองจะเปนสถาบัน ที่ครอบคลุมตั้งแตผูนำในการปกครอง ผูมีอำนาจในสังคม รวมทั้งการมีสวนรวมทางการเมืองของประชาชน เชน นายกรฐมนตรี ประธานรัฐสภา ตุลาการ สมาชิกสภาผูแทนราษฎร ทหาร ตำรวจ เปนตน 
    • สถาบันการเมืองการปกครอง มีหนาที่รักษาความสงบเรียบรอยของสังคม ควบคุมสมาชิก ในสังคมใหปฏิบัติตามกฎหมาย 
    • โดยมีเจาพนักงานปกครอง ตำรวจ ทหาร ทำหนาที่ดังกลาว รวมทั้ง มีหนาที่ในการพัฒนาสังคมใหเจริญกาวหนา และดำรงไวซึ่งอำนาจอธิปไตยของประเทศ
  • 3.3 สถาบันเศรษฐกิจ 
    • สถาบันเศรษฐกิจเปนสถาบันที่ตอบสนองความตองการของสมาชิกในสังคมดานปจจัยสี่เครื่องอุปโภค  บริโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการดำรงชีวิตเพื่อการอยู่รอด 
    • ซึ่งจะเหนได้วา มนุษยใชวิธีทางเศรษฐกิจเพื่อสนองความตองการของตนมาตั้งแตระยะเริ่มแรกจนถึงปจจุบัน เชน มนุษยในยุคกอนประวัติศาสตรมีการลาสัตว เก็บของปามาแบงกัน ตอมามีการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว ปจจุบันได้เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินคา การลงทุน การผลตสินค้าตามระบบอุตสาหกรรม ุ เป็นต้น
    • สถาบันเศรษฐกิจมีหนาที่ตอบสนองความตองการของสมาชิกในสังคมทางดานเศรษฐกิจ เชน การธนาคาร การใชเงินตรา การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินคา เปนตน รวมทั้งทำหนาที่สรางความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณและสรางความเจริญกาวหนาทางเศรษฐกิจใหแกสังคม
  • 3.4 สถาบันการศึกษา
    • สถาบันการศึกษาเปนสถาบันหลักที่ใหการศึกษากับสมาชิกในสังคม เพราะเมื่อมนุษยตองมาอยู่ร่วมกัน พึ่งพาอาศัยกัน มนษยุ จำเป็นต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆ เกี่ยวกับบุคคล และสิ่งแวด   ล้อมที่อยู่รอบตัว 
    • เพื่อนำสิ่งที่ไดเรียนรูมาปรับใชใหเขากับสิ่งแวดลอม แตเดิมการใหการศึกษาเปนหนาที่ของสถาบันครอบครัว โดยผานการอบรมสั่งสอนในเรื่องต่างๆ 
    • ถือวาเปนการศึกษาอยางไมเปนทางการ เมื่อ โลกมีความเจริญกาวหนามากขึ้น จึงเกิดความรู ใหมๆ และมีการแบงเปนศาสตรเฉพาะดานที่ ครอบครัวไมสามารถถายทอดไดจึงทำใหเกิด ระบบการศึกษาอยางเปนทางการขึ้น เชน วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย เปนตน สถาบันการศึกษามีหนาที่ถายทอด ความรูและวัฒนธรรมทุกดานใหกับสมาชิกใน สังคม โดยใชกระบวนการอบรมสั่งสอน
  • 3.5 สถาบันศาสนา
    • สถาบันศาสนาเปนแบบแผนหรือแนวทางการปฏบิตัทิเกี่ยวกับความคิดการกระทำในเรื่องของ จิตใจ ความเชื่อ ความศรัทธา ซึ่งมีผลทำใหผูที่ยึดถือปฏิบัติตามหลักของศาสนาเกิดความมั่นคงทาง ดานจิตใจ สถาบันศาสนามีบทบาทสำคัญในการควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมใหมีระเบียบ
    • สถาบนศาสนามีหน้าที่เสริมสร้างคุณธรรม ุ จริยธรรมและคานิยมที่ดีใหแกสมาชิกในสังคม และเกื้อหนุนใหสถาบันอื่นๆ สามารถทำหนาที่ ตอสังคมไดอยางสมบูรณนอกจากนี้สถาบัน ศาสนายังทำหนาที่เปนแหลงเรียนรูและแหลง อารยธรรมทสำคัญใหแก่สังคมในทางอ้อม อีกดวย 
    • การจัดแบงกลุมความสัมพันธของคน ออกเปนสถาบันสังคมดังที่ไดกลาวมาขางตน เพอให ื่ เราสามารถมองเห็นภาพของความสัมพันธ์ไดอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น 
    • เพราะการมองสถาบันต่างๆ เหลานี้ เราจะไมแยกส่วนออกมาเพื่อศึกษาแต่ จะมองวาสถาบันทุกสถาบันเกาะเกี่ยวผูกพันกันเปนองคมวลรวม ความสัมพันธที่เชื่อมโยงกันทั้งหมดนี้จัดเปนโครงสรางของสังคม ซึ่งจะทำใหเราเขาใจสังคมไดดียิ่งขึ้น


4. การจัดระเบียบทางสังคม

    • การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง วิธีการท ี่คนในสังคมกำหนดขึ้นมาเพ ื่อทำใหคนที่มาอยู รวมกันประพฤติปฏิบัติตาม รวมทั้งทำใหสังคมมีความมั่นคงและสามารถดำรงอยู ไดอยางเปนระเบียบ เรียบร้อย หรออาจกล่าวได้วา การจัดระเบียบทางสังคมไดรับการสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางให้ สมาชิก ของสังคมยึดถือปฏิบัติตอกัน
    • องคประกอบของการจัดระเบียบทางสังคม
      • บรรทัดฐานทางสังคม
        • วิถีชาวบาน
        • จารีต (กฎศีลธรรม)
        • กฎหมาย 
      • สถานภาพ
        • สถานภาพโดยกำเนิด
          • สถานภาพทาง วงศาคณาญาติ
          • สถานภาพทางเพศ 
          • สถานภาพทางอายุ
          • สถานภาพทางเชื้อชาติ
          • สถานภาพทางถิ่นกำเนิด
          • สถานภาพทางชนชั้น
        • สถานภาพที่ไดมาภายหลัง
          • สถานภาพทางการสมรส 
          • สถานภาพทางการศึกษา
          • สถานภาพทางอาชีพ
          • สถานภาพทางการเมือง 
      • บทบาท
        • ตำแหนง
        • สิทธิ 
        • หนาที่ 
  • 1) บรรทัดฐานทางสังคม เกิดขึ้นเนื่องจากมนุษยตองอยูรวมกัน ซึ่งโดยปกติมนุษยมัก ทำอะไรตามใจตนเอง ดังนั้น สังคมจึงกำหนดกฎระเบียบแบบแผนขึ้นมาเปนบรรทัดฐานเพื่อใหสมาชิก ในสังคมไดประพฤติปฏิบัติ
  • ซึ่งจะทำใหเกิดความเปนระเบียบเรียบรอยขึ้นในสังคม สมาชิกในสังคม จะตระหนักถึงบรรทัดฐานเพราะเปนสิ่งที่ อยูในความรสึูกนึกคิดของบุคคล 
  • และเปนกลไกทางสังคมที่ คอยควบคุมความประพฤติของสมาชิก หากสังคมใดขาดบรรทัดฐานทางสังคม ก็จะเกิดความวุนวาย บรรทัดฐานจึงมีความสำคัญมากตอสังคม โดยสามารถแบงออกไดเปน 3 ประเภท คือ
    • 1.1) วิถีชาวบานหร  อวิถีประชา หมายถึง แนวประพฤตปฏิ ิบัติตางๆ ที่กระทำอยเปู นประจำ จนเกดความเคยชิน เชน การกลาวทักทายแสดง ความเคารพตอผูใหญ เป็นต น 
    • ซึ่งสมาชิกในสงคม ตางยอมรบเอาแบบแผนพฤติกรรมนั้นไวใชปฏิบัติ และถาหากไมปฏิบัติตามหรือฝาฝนจะถูกสังคม ตำหนิติเตียน 
    • แตถาหากวาทำไดตามมาตรฐาน ที่สังคมกำหนดอาจจะไดรับคำชมเชย เพ ื่อให กำลงใจั เชน หากนกเรียนแต่งกายเร ียบรอย
    • ก็จะ ไดรับคำชมเชยจากครูอาจารยแตในทางกลับกัน หากนักเรียนแตงกายไมเรียบรอยก็จะถูกตำหนิ เปนตน
    • 1.2) จารีต หมายถึง แนวทางประพฤติปฏิบัติของสมาชิกในสังคมที่เกี่ยวกับระบบศีลธรรม และสวัสดิภาพของสังคม 
    • ถาบุคคลใดละเมิดหรือไมปฏิบัติตาม จะไดรับการดูถูกเหยียดหยามจากสังคม หรือถูกติเตียนอยางรุนแรง เชน ลูกที่อกตัญูตอบิดามารดา จะถูกตำหนิติเตียนและอาจจะไมมีผูใด คบคาสมาคมดวย เปนตน 
    • 1.3) กฎหมาย หมายถึง ระเบียบกฎเกณฑขอบงคับของรัฐที่ตราขึ้น โดยผูมีอำนาจในรัฐ หรือตราขึ้นจากเจตนารมณของประชาชนในรัฐ เพื่อกำหนดความประพฤติของประชาชนในรัฐ ถาใคร ฝาฝนไมปฏิบัติตามจะตองมีความผิดและจะไดรับการลงโทษ เชน ปรับ จำคุก กักขัง ริบทรัพย ประหารชีวิต ดังนั้น บรรทัดฐานทางสังคมจึงเปน กลไกที่ใชควบคุมความประพฤติของคนในสังคม ใหเปนไปตามทิศทางและกฎระเบียบที่สังคม วางไว เพื่อความสงบเรียบรอยของสังคมและ การอยูรวมกันอยางมีความสุข
  • 2) สถานภาพ ในแตละสังคมที่เรา พบเห็นนั้น เมื่อดูผิวเผินก็จะพบคนและกลุมคน มากมาย ซึ่งตางก็มีการกระทำโตตอบกันท ั้งโดย ทางตรงและทางออมตามตำแหนงและหนาที่ที่ สังคมกำหนดไว 
      • บรรทดฐานทางสังคม (Social Norms) หมายถึง ขอตกลงของสังคมที่กำหนดใหสมาชิกประพฤติ ปฏิบัติ 
      • สถานภาพ (Status) หมายถึง ตำแหนงที่แต่ละคนครองอยูในสถานที่หนึ่ง ในชวงเวลาหนึ่ง 
      • บทบาท (Role) หมายถึง การกระทำที่สังคม คาดหวังตามสถานภาพที่บุคคลครองอยู 
    • โดยตำแหนงและหน้าที่ของบุคคลนั้นต้องเกี่ยวข้องและต้องปฏิบัติกับผูอื่น และสังคมโดยรวม  ซึ่งสถานภาพเป็นสิ่งเฉพาะที่จะทำใหแต่ละบุคคลแตกต่างกัน 
    • สถานภาพแบงออกได้เป็น 2 ประเภท คือ 
      • 2.1) สถานภาพที่ติดตัวมา หรือสถานภาพโดยกำเนิด (Ascribed status) เปนสถานภาพ ที่ไดมาโดยสังคมเปนผูกำหนด หรือเปนสถานภาพที่ไดมาโดยเงื่อนไขทางชีวภาพ ซึ่งจำแนกไดดังนี้ 
        • 1. สถานภาพทางวงศาคณาญาติในสังคมไทย บุคคลจะมีความผูกพันทางสายโลหิต มีลักษณะเป็นครอบครัว เป็นญาติพี่นอง เชน เป็นลูกของพ่อแม่ เป็น ของน้อง เป็นป้าของหลาน เป็นต้น 
        • 2. สถานภาพทางเพศ เชน เพศชาย เพศหญิง 
        • 3. สถานภาพทางอายุ เชน ผูเยาววัยรุน ผูใหญ คนชรา เปนตน 
        • 4. สถานภาพทางเชื้อชาติเชน เชื้อชาติไทย เชื้อชาติจีน เปนตน 
        • 5. สถานภาพทางถิ่นกำเนิด เชน คนที่เกิดภาคใต้ ยอมไดรับสถานภาพเป็นชาวปักษใต สวนคนที่เกิดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็จะไดรับสถานภาพเปนชาวอีสาน เปนตน 
        • 6. สถานภาพทางชนชั้นในสังคม เชน ขาราชการระดับสูง เศรษฐียาจก เปนตน
      • 2.2) สถานภาพที่ไดรับมาในภายหลัง (Achieved status) เปนสถานภาพที่บุคคลไดรับมา ภายหลังจากการกระทำ การแสวงหาหรือการทำงานตามความสามารถของตน ซึ่งจำแนกไดดังนี้ 
        • 1. สถานภาพทางการสมรส เชน โสด สมรส มาย หรือหย่าร้าง
        • 2. สถานภาพทางการศึกษา บุคคลยอมไดรับสถานภาพตามวุฒิที่ตนศึกษา เชน บัณฑิต มหาบัณฑิต เปนตน 
        • 3. สถานภาพทางอาชีพ เชน ชาวนา กรรมกร วิศวกร นายแพทยเปนตน 
        • 4. สถานภาพทางการเมือง เชน สมาชิกสภาผูแทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีเปนตน 
        • จะเห็นไดวาบุคคลคนหนึ่ง มีสถานภาพที่ตางกันตามสถานการณ ดังนั้น เมื่อสมาชิกในสังคมครอบครองสถานภาพใด แลวก็จะต้องกระทำหน้าที่ ตามสถานการณตามที่สังคมนั้นๆ กำหนดขึ้น 
  • 3) บทบาท คือ การแสดงพฤติกรรม หรือการกระทำตามสถานภาพที่สังคมกำหนด สถานภาพและบทบาทจะมีความเกี่ยวของกัน เมื่อพูดถึงสถานภาพก็จะพูดถึงบทบาทไปดวย อาจกลาวไดวาบทบาท คือ ตำแหนง สิทธิและหนาที่ของบุคคลแตละคน เชน นายสุรชัยมีสถานภาพเปนบิดา บทบาทของนายสุรชัย คือ การอบรม เลี้ยงดู ใหความรัก ความเอาใจใส และสั่งสอนลูกเพื่อใหเปนคนดี หรือสมศรีมีสถานภาพเปนครู บทบาทของสมศรีคือ การใหวิชาความรูและอบรมสั่งสอนเพื่อใหศิษยเปนคนดี ฉะนั้นจะเห็นวา บทบาทของแตละคน ยอมแตกตางกันออกไปตามสถานภาพที่แตละคนมี หรือเปนอยู ซึ่งจะตองมีการกระทำตอกันตามบรรทัดฐานและระบบคุณคาที่มีอยูในสังคม


5. การขัดเกลาทางสังคม

    • มนุษยเปนสัตวสังคมที่อยูรวมกันเปนกลุม เปนสังคมและมีการปฏิสัมพันธกับผูอื่น ดังนั้น จึงจำเป็นต องมีการปรับตัว ปรับบุคลิกภาพใหไปในแนวทางที่สังคมต้องการ 
    • โดยมนษย์จะได้รบการอบรมสั่งสอนใหเปนสมาชิกที่สมบูรณ การขัดเกลาทางสังคม หมายถึง กระบวนการอบรมสั่งสอนสมาชิกของสังคมใหเรียนรูระเบียบของสังคม
    • เพื่อใหเห็นคุณคาและนำเอากฎเกณฑ ระเบียบปฏิบัติเหลานั้น ไปเปนแนวทางในการ ประพฤติปฏิบัติการขัดเกลาทางสังคม เปนสิ่งจำเปนที่มนุษยจะตองไดรับตลอดชีวิต 
    • เพื่อที่จะทำให สามารถปรับตัวเขากับสังคมที่ตนเปนสมาชิกอยูไดและจะชวยใหสามารถประพฤติปฏิบัติตนตาม สถานภาพและบทบาทของตนไดเปนอยางดี
    • การขัดเกลาทางสังคมอาจจำแนกได 2 ประเภท ดังนี้ 
      • 1) การขัดเกลาทางสังคมโดยทางตรง เชน การอบรม ขัดเกลาที่พอแมใหกับลูกไมวา จะเปนการสอนพูด สอนมารยาทในการรับประทานอาหาร หรือสอนใหเรียกพี่ นอง ปู ยา เปนตน ในกรณีนี้ผูสอนและผูรับจะรูสึกตัวในกระบวนการขัดเกลา เพราะเปนการอบรมสั่งสอนกันโดยตรง 
      • 2) การขดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อม เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุ หรือดู โทรทศน์ ตลอดจนภาพยนตร เปนตน 
      • ผูรับจะเรียนรูโดยไมไดตั้งใจ โดยสิ่งที่เรียนรูจะคอยๆ ซึมซับเขาไปใน จิตใตสำนึกวาสิ่งนั้นสิ่งนี้เปนสิ่งที่สังคมยอมรับ และจะไมยอมรับหากกระทำในสิ่งที่แปลกแยกออกไป การขัดเกลาทางสังคมโดยทางออมจะครอบคลุมไปถึงการอานนวนิยาย อานหนังสือประเภทตางๆ และ การเขารวมในกลุมเพื่อนฝูงและเพื่อนรวมงาน ซึ่งจะชวยใหเกิดการปรับตัวและพัฒนาบุคลิกภาพ การขัดเกลาทางสังคมเปนกระบวนการถายทอดวัฒนธรรม 
      • คานิยมของสังคม ซึ่งมีตัวแทนที่ ทำหนาที่ในการขัดเกลาทางสังคม ดังนี้ 
        • 1. ครอบครัว เปนตัวแทนที่สำคัญที่สุดในการทำหนาที่ขัดเกลาทางสังคม เพราะเปนสถาบัน แรกที่เด็กจะไดรับการอบรมสั่งสอนและจะมีความผูกพันทางสายโลหิตอยางลึกซึ้ง ซึ่งจะมีอิทธิพลตอ อารมณความประพฤติเจตคติตลอดจนบุคลิกภาพของบุคคลมากที่สุด เชน พอแมสั่งสอนใหลูกเปน คนกตัญูรูคุณ เปนตน
        • 2. กลุมเพื่อน เปนตัวแทนที่ทำหนาที่ขัดเกลาทางสังคมอีกหนวยหนึ่ง เนื่องจากกลุมแตละ กลุมยอมมีระบบระเบียบ ความเชื่อและคานิยมเฉพาะของกลุมตนเอง ซึ่งอาจแตกตางกันออกไปตามลักษณะของกลุ่ม เช่น การแต่งกาย  โดยสวนใหญ๋ กลุมเพื่อนเดียวกันก็จะมีการแตงกายในรูปแบบ เดียวกันหรือใกลเคียงกัน เปนตน 
        • 3. โรงเรียน เปนตัวแทนของสังคมที่ ทำหนาที่โดยตรงในการขัดเกลาสมาชิกตั้งแตในวํยเด้กจนถึงวัยผู้ใหญ โดยทำหนาที่อบรมสั่งสอน ใหเด็กไดเรียนรูทางดานวิชาการ ดานคุณธรรม จริยธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีตางๆ ของ สังคม ตลอดจนคานิยมและทักษะอันจำเปนให แกสมาชิกในสังคมิ
        • 4. ศาสนา เปนตัวแทนในการขัดเกลาจิตใจของคนในสังคมใหยึดมั่นในสิ่งที่ดีงาม มีศีลธรรม จริยธรรม และความประพฤติในทางที่ถูกที่ควร โดยทุกๆ ศาสนาจะมีอิทธิพลทางจิตวิทยาตอบุคคล ในการสรางบุคลิกภาพเปนอยางมาก 
        • 5. กลุมอาชีพ อาชีพแตละประเภทจะมีการจัดระเบียบปฏิบัติเฉพาะกลุม เชน กลุมที่มีอาชีพ คาขายจะตองมีความซื่อสัตยไมเอาเปรียบลูกคา ผูที่เปนสมาชิกใหมของกลุมอาชีพตางๆ จำเปนตอง เรียนรูระเบียบประเพณีของกลุมอาชีพที่ตนเปนสมาชิก 
        • 6. สอมวลชนมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารของสมาชิกในสังคม มีส่วนในการขัดเกลา ทางสังคมแกมนุษยในดานตางๆ ทั้งทางดานความคิด ความเชื่อ แบบแผนการประพฤติปฏิบัติ
        • ชวงเวลาที่เหมาะสมตอการขัดเกลาทางสังคม
          • ชวงเวลาที่สำคัญตอการขัดเกลาทางสังคมของบุคคลมี 2 ระยะคือ 
            • 1. ระยะที่ยังเปนเด็ก เมื่อทารกคลอดจากครรภมารดาก็จะไดรับการเลี้ยงดูเอาใจใสเรื่องการกินอยู ความรัก ความอบอุน การเลี้ยงดูของผูปกครองในวัยเด็กจึงมีอิทธิพลตออารมณความรูสึกนึกคิดของเด็กมาก เด็กจะซึมซับ ทุกสิ่งทุกอยางที่อยูใกลตัว พอและแมจึงเปนบคคลแรกที่จะชวยพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กมากที่สุด 
            • 2. ระยะที่เปนวัยรุน ระยะนี้เปนวัยที่พนจากความเปนเด็ก เขาสูวัยหนุมสาว รางกายและจิตใจ มีการเปลี่ยนแปลงมีความคิดเป็นของตัวเอง รักอิสระ  ไม่ชอบการบังคับ เพื่อนจึงมึ ความสำคัญมากสำหรับวัยน เมื่อมีปญหาจะปรึกษาเพื่อนมากกวาพอแม 
            • ดังนั้นพอแมจะตองเขาใจ และยอมรับฟง ความคดเห็น สนใจต่อปัญหาของเขา ยอมให้เขามีเพื่อนนอนและช่วยเหลือสนับสนุนในกิจกรรมที่เขาสนใจ 
            • นอกจากนี้พ่อแม่จะต้องปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เจตคติความรับผิดชอบ และความประพฤติ ที่ถูกตองตามกฎระเบียบของสังคมใหกับบุตรหลาน เพื่อใหสามารถอยูในสังคมไดอยางปกติสุข


6. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม 


    • การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระเบียบของสังคมที่เกี่ยวกับการกระทำ เรื่องตางๆ ในชีวิต เชน การเปลี่ยนวัตถุสิ่งของที่ใชวิธีการหรือเทคโนโลยีในการผลิตและการบริโภค แบบแผนการอยูรวมกันในครอบครัว ความคิด ความเชื่อ คานิยม ระเบียบ กฎเกณฑทางสังคม หรือกฎหมายเป็นต้น 
    • การเปลยนแปลงที่กล่าวมานี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธั  และแบบแผนความประพฤติของคนในสังคมที่แตกตางไปจากเดิม แตถาหากเปนการเปลี่ยนแปลงใน ตัวบุคคล เชน เปลี่ยนสถานภาพจากเด็กเปนผูใหญ หรือการสลับปรับเปลี่ยนตัวบุคคลแตละตำแหนง ในองคกร การเปลี่ยนแปลงดังกลาวจะไมมีผลตอการเปลี่ยนแปลงของโครงสรางและสถาบันทางสังคม เพียงแตเปนการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนคนเปนวงจรภายใตระบบสังคมเดิม เพราะคนยังคงยึดระเบียบ แบบแผนและกฎเกณฑเดิมตอไป เราจึงไมถือวาเปนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
      • 6.1 ปจจัยที่ทำใหเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีสาเหตุมาจากปจจัยที่สำคัญ ดังตอไปนี้ 
        • 1) ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การคนพบความรู้ เครื่องมือเครื่องใชใหมๆ ที่มนุษย์ประดิษฐขึ้นแลวนำมาใชประโยชนในสังคม เชน การใชเครื่องจักรแทนแรงงานคน เปนตน 
        • 2) การเพิ่มประชากร เปนปจจัยสำคัญที่ทำใหเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอยางยิ่ง ในทางเศรษฐกิจ เพราะมีความตองการปจจัยสี่และสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น 
        • 3) การติดตอกับสังคมภายนอก ในปจจุบันทุกภูมิภาคของโลกมีความใกลชิดกันมากขึ้น ไมวาจะอยูในสวนใดของโลกสามารถที่จะติดตอสื่อสาร ศึกษาเรียนรูและรับวัฒนธรรมของกันและกันได เรียกวา “โลกาภิวัตน” ทำใหเกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม สงผลใหวิถีชีวิตของคนในสังคม เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม 
        • 4) การศึกษา เปนพื้นฐานความรูที่บุคคลใชในการรับการถายทอดทุกสิ่งทุก อยางของสังคม การศึกษาทำใหสมาชิกในสังคมมีความรูกวางไกล และหลากหลายมากขึ้น และนำความรูเหลานั้นมา ถายทอดใหแกสมาชิกในสังคม และทำใหสังคมเกิด การเปลี่ยนแปลง 
        • 5) ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ  มนษย์แสวงหาความต้องการที่จะทำให้ ชีวิต มีความสุข ดังนั้น จึงตองมีการผลิตคิดคนบรรดาสิ่งอำนวย ความสะดวกขึ้นมา เพื่อตอบสนองความตองการ อันมีผลทำใหวิถีชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิม
      • 6.2 การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบันจะเห็นไดวาสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้ งทางดานชีวิต ความเปนอยู วัฒนธรรม ความเชื่อ คานิยม ตลอดจนดานการเมืองและเศรษฐกิจ พอสรุปไดดังนี้
        • 1) ดานการเมืองการปกครอง  ตั้งแตสมัยสุโขทัย ได้มีการปกครองแบบพอปกครองลูก ตอมาในสมัยอยุธยาเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย  พระมหากษัตร์ทรงมีอำนาจปกครอง และบรหารราชการแผ่นดิน ตอมาในสมยรัตนโกสินทร ิ เริ่มมีการรับอิทธิพลของชาติตะวันตกมาใช้ ตั้งแต สมัยรัชกาลท ี่ 5 จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงเปนระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475 ในปจจุบัน ประเทศไทยปกครองดวยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข โดยประชาชน ชาวไทยมีสิทธิที่จะเลือกตั้งสมาชิกสภาผูแทนราษฎร และสมาชิกสภาผูแทนราษฎรก็จะรวมกันเลือก นายกรัฐมนตรีจากบรรดาสมาชิกสภาผูแทนราษฎร เพื่อจัดตั้งรัฐบาลบริหารประเทศ 
        • 2) ดานเศรษฐกิจ ในสมัยสุโขทัยการดำเนินการทางเศรษฐกิจจะเปนลักษณะของการให เสรีภาพประชาชนในเรื่ องการคาขาย ประกอบอาชีพ มีการยกเวนภาษีและมีการคาขายกับประเทศ เพื่อนบาน ตอมาสมัยอยุธยาเร ิ่ มมีตัวแทนรัฐในการทำการคากับตางชาติในสมัยรัตนโกสินทรตอนตน มีการติดตอกับตางชาติโดยการทำสนธิสัญญาเบาวริงกับอังกฤษ ทำใหเศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้น ตั้งแต พ.ศ. 2475 เปนตนมา มีการพัฒนาประเทศทั้งทางดานเศรษฐกิจและสังคมอยางกวางขวาง โดย เฉพาะเนนการพัฒนาทางดานอุตสาหกรรม และจากการเปลี่ยนแปลงดังกลาว ทำใหคนในสังคมมี การประกอบอาชีพที่หลากหลายขึ้น สงผลใหสมาชิกในสังคมมีความเปนอยูที่ดีขึ้น 
        • 3) ดานสังคม สังคมไทยนับตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน นอกเหนือจากวัฒนธรรมของประเทศ ไทยเองแลว เรายังไดรับอิทธิพลจากวัฒนธรรมภายนอกท ี่ เขามาผสมผสานอีกดวย กลาวคือ ในสมัยสุโขทัย สังคมไทยไดรับวัฒนธรรมหลักๆ มาจากอินเดียและ ขอม โดยเฉพาะดานศาสนา แบบแผนการปกครอง กฎหมาย โดยมีวัฒนธรรมจีนเขามาผสมอยูบางในชวง ปลายสุโขทัย ตอมาในสมัยอยุธยา นอกเหนือจาก วัฒนธรรมอินเดีย ขอม และจีนแลวก็เริ่มมีวัฒนธรรม จากชาติตะวันตก เชน อังกฤษ โปรตุเกส ฮอลันดาเขามา เผยแพร จนถึงสมัยรัตนโกสินทร วัฒนธรรมตะวันตก ไดเข ามามีบทบาทสำคัญต่อสังคมไทย ทำใหความสลับซับ ซอนของลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมเริ่มมีมากขึ้น และเปลี่ยนแปลงไปอยางรวดเร็ว


7. ปญหาสังคมไทย


  • สังคมไทยในปจจุบันไดมีการเปลี่ยนแปลงไปอยางมาก ผูคนในสังคมมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน ความสัมพันธไปจากเดิม และสถาบันทางสังคมก็ทำหนาที่ไมครบสมบูรณ
  • สิ่งเหลานี้เปนปจจัยพื้นฐานที่ ทำให้เกิดปัญหาสังคม ปัญหาสังคมไทยมีอยู่หลากหลายปัญหาและมีแนวโน้มว่าหากเราไม่รวม มือกันขจัดปญหาหรือทำใหปญหาที่มีอยูเบาบางลง ก็จะมีผลกระทบอยางมากตอความเจริญ กาวหนาของประเทศ 
  • พจนานุกรมศัพทสังคมวิทยา ฉบับราชบัญฑิตยสถาน ไดใหความหมายของ ปญหาสังคม ไววา “ภาวะใดๆ ในสังคมที่คนจำนวนมาก ถือวาเปนสิ่งผิดปกติไมพึงปรารถนา รูสึกไมสบายใจและ ตองการใหมีการแกไขใหกลับคืนสูสภาวะปกติ” 
  • เชน ปญหาอาชญากรรม ปญหาการทุจริตคอรรัปชั่น ปญหาสิ่งเสพติด เปนตน จากคำจำกัดความดังกลาว 
  • จะเห็นไดวาปญหาสังคมเปนปญหาหรือขอขัดแยงที่กระทบตอคน สวนใหญในสังคม แตหากเปนปญหาของตัวบุคคลเพียงคนเดียว เชน พี่ทะเลาะกับนองเพราะนอง ไมยอมทำการบ้าน ครูลงโทษนักเรียนเพราะทำผิดกฎของโรงเรียน จะไม่ถือว่าเป็นปัญหาสังคม 
  • สวนใหญ่  ปญหาสังคมมักเกิดจากขอบกพรอง ของการจัดระเบียบทางสังคม ทำใหพฤติกรรมของผูคนสวนใหญ ในสังคมผิดไปจากกฎเกณฑที่สังคมไดกำหนดไว 
  • ปญหาสังคมที่สำคัญของไทยมีหลายประการ แตในที่นี้จะกลาวถึงปญหาที่กำลังเพิ่มพูนความ รุนแรงและสงผลกระทบตอสังคมไทย ควรจะไดรับการแกไขอยางเรงดวน ไดแก 
    •  7.1 ปญหาสิ่งเสพติด 
      • ปัญหาสิ่งเสพติดเป็นปัญหาที่กำลังแพร่ระบาดในกลุ่มเด็กและเยาวชน ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมี ผูติดสิ่งเสพติดกวาสองลานคน สวนใหญเปนกลุมเยาวชนซึ่งการแกปญหานี้จะเกิดขึ้นไดและประสบ ความสำเร็จก็ตองอาศัยความรวมมือจากหลายฝายที่เกี่ยวของทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ทุกหมูเหลาที่ตองรวมแรงรวมใจกันในการแกไขปญหา 
      • สารเสพติดที่แพรระบาดในประเทศไทย เชน ฝน เฮโรอีน กัญชา และแอมเฟตามีน (การผลิต แอมเฟตามนในประเทศไทยเป็นปัญหาที่มี่ แนวโน้มขยายตัวรุนแรงมากขึ้ ุ น ) 
      • รปแบบของการค้าสิ่งเสพติด ในประเทศไทยจะเปนลักษณะของการลักลอบนำเขามาจากตางประเทศ โดยเฉพาะบริเวณชายแดนใน ภาคเหนอและภาคใต้ การลกลอบค้าภายในประเทศ นอกจากนี้ยังมีการส่งออกไปขายยังต่างประเทศด้วย 
      • ซึ่งประเด็นการลักลอบคาขายภายในประเทศ นำมาสูการแพรระบาดของสิ่งเสพติดในประเทศไทย ที่รุนแรงมาก โดยเฉพาะพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต รองลงมาคือ ภาคกลางและ ภาคเหนือตามลำดับ
      • สาเหตุของปญหาสิ่งเสพติด
        • 1. ความรูเทาไมถึงการณเชน อยากทดลอง ความคึกคะนอง และการชักชวนของคนอื่น 
        • 2. การถูกหลอกลวง ปจจุบันนี้มีผูขายสินคาประเภทอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มบางรายได ใชสิ่งเสพติดผสมลงในสินคาที่ขาย เพื่อใหผูที่ซื้อสินคานั้นไปรับประทาน เกิดการติดและอยากซื้อไป รับประทานอีก 
        • 3. ความเจ็บป่วย คนที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายหรือม โรคประจำตัวร้ายแรง  จะนำไปสภาวะจิตใจ ที่ไมปกติเชน มีความวิตกกังวล เครียด จึงพยายามหายาหรือสิ่งเสพติดที่มีฤทธิ์สามารถคลายความ เจ็บปวดหรอความเครียดมารับประทาน เมื่อใช้ติดต่อกันนานๆ  ก็จะทำใหผูนั้นติดสิ่งเสพติดไดในที่สุด 
        •  4. สาเหตุอื่นๆ เช่น การอยู่ใกล้แหล่งขาย แหลงผลิตหรืออยูใกลชิดกับผูติดสิ่งเสพติด รวมทั้งสภาพแวดลอมทางสังคม การวางงาน  ความยากจน การเลยนแบบและการประชดชีวิติ เป็นต้น
      • แนวทางการปองกันและแกไขปญหา
        • 1. ภาครัฐจะต้องพัฒนาและส่งเสริมมาตรการป้องกันสิ่งเสพติด เช่น การใหความร  และข้อมูลเกี่ยวกับปญหาสิ่งเสพติดกับประชาชนอยางทั่วถึง โดยใชวิธีการตางๆ ไมวาจะผานสื่อโทรทัศน วิทยุ หรือผานหลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา นอกจากนี้ ภาครัฐควรออกมาตรการเพื่อ บำบัดรักษาใหผูติดสิ่งเสพติดหยุดเสพใหนานที่สุดจนสามารถเลิกไดโดยเด็ดขาด ซึ่งเปนการลดปญหา ความเดือดรอนของสังคมและลดการแพรกระจายของสิ่งเสพติดไดนอกจากนี้รัฐจะตองมีการออก มาตรการปราบปรามการคาสิ่งเสพติดอยางจริงจัง โดยการออกกฎหมายเพิ่มโทษกับผูผลิตและผูขาย รวมทั้งทำการปราบปรามอยางเขมงวด การเลนกีฬา นอกจากจะทำใหรางกายแข็งแรงแลว ยังทำใหเราหางไกลจากสิ่งเสพติดอีกดวย 
        • 2. ภาคเอกชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการรณรงคชวยเหลือผูติดยาใหลดละเลิกการใช สิ่งเสพติด รวมทั้งจัดกิจกรรมสันทนาการตางๆ ใหกับเยาวชนและผูที่เปนกลุมเสี่ยงได้ใช้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์และหางไกลจากสิ่งเสพติด 
        •  3. ภาคประชาชน ใหความรวมมือกับ ภาครัฐในการสอดสองดูแลไมใหเกิดการระบาด ของสิ่งเสพติด โดยเฉพาะครอบครัวจะตองให ความรักความอบอุนกับสมาชิกในครอบครัว โดยพอแมจะตองถือวาสิ่งนี้เปนความรับผิดชอบ ตอสังคมดวย
      • นอกจากนี้ครอบครัวควรหาเวลาวางทำกิจกรรมกับบุตรหลาน โดยจะตองเปนกิจกรรมที่มี ประโยชนเชน การพาบุตรหลานไปเที่ยวพักผอนรวมกัน เปนตน
    •  7.2 ปญหาเด็กและเยาวชน 
      • ปญหาเด็กและเยาวชนในสังคมไทยเปนปญหาที่สำคัญและมีความหลากหลาย เชน ปญหา เด็กเรรอน ปญหาเด็กติดสิ่งเสพติด ปญหาวัยรุนมั่วสุมตามสถานบันเทิง และปญหาเยาวชนเปนเหยื่อ ของการโฆษณาทำใหเปนผูบริโภคนิยม เปนตน ซึ่งปญหาที่เกิดขึ้นนับวันจะทวีความรุนแรง และเปน ปญหาระดับชาติที่ทุกหนวยงานต้องรวมมือแกไขและปองกัน
      • สาเหตุของปญหาเด็กและเยาวชน
        • 1. ครอบครัว เชน การใชความรุนแรงในครอบครัว พอแมทะเลาะกัน การลงโทษที่รุนแรง หรือความยากจนในครอบครัว เปนสวนผลักดันใหเด็กไมตองการอยูกับครอบครัว จึงหนีออกจากบาน กลายเปนเด็กเรรอนขอทาน 
        • 2. สภาพแวดลอมที่อาศัยอยู สภาพแวดลอมเปนปจจัยสำคัญที่ทำใหเกิดปญหาเกี่ยวกับเด็ก และเยาวชน เชน ถาในชุมชนมีแหลงอบายมุขทั้งสิ่งเสพติด การพนัน การฉกชิงวิ่งราว ก็จะทำใหเด็ก คอยๆ ซึมซับพฤติกรรมเหลานั้นและปฏิบัติตาม 
        • 3. กลุ่มเพื่อนวัยรุ่นเปุ็นวัยที่ติดเพื่อนนั่นคือถ้าอยู่ในกลุ่มเพื่อนทที่ชักชวนทำสิ่งที่ไม่ดี ก็จะทำให้เกิดปญหาสังคมตามมาได 
        • 4. สื่อ ในปจจุบันสื่อตางๆ เชน อินเทอรเน็ต โทรทัศน วิทยุ หนังสือตางๆ มีอิทธิพลตอ พฤติกรรมของเด็กและเยาวชน  ซึ่งเปึ่นวัยที่สามารถรับข้อมูลตู่างๆ จากสื่อได้ อย่างรวดเร็วและทำให้ เกิดพฤตกรรมเลียนแบบขั้นได
      • แนวทางการปองกันและแกไขปญหา
        • 1. พอแมจะตองมีความรับผิดชอบตอสมาชิกทุกคนในครอบครัว โดยใหความรักความอบอุน กับสมาชิกในครอบครัว และพรอมที่จะสงเสริมการเขารวมกิจกรรมตางๆ ของบุตรหลาน การทำกิจกรรมในโรงเรียนจะทำใหเด็กไดแสดง ศักยภาพความสามารถของตัวเอง 
        • 2. โรงเรียนและชุมชน ตองสงเสริม การจัดเวลา รวมทั้งพื้นที่ใหเด็กและเยาวชนได แสดงศักยภาพ ความสามารถตามความสนใจ และความตองการตามวัย 
        •  3. หนวยงานของรัฐและเอกชน ตอง มีการเรงรัดการจัดบริการนันทนาการใหเขาถึง เด็กและเยาวชน   
        • 4. สื่อมวลชน  ควรสนับสนุน เผยแพร กจกรรมความดี ความสามารถของเด็ก เพื่อเด็ก จะไดมีแบบอยางที่ดีและมีความภูมิใจในการทำ กิจกรรมตางๆ
    • 7.3 ปญหาทุจริตคอรรัปชั่น
      • ปญหาทุจริตคอรรัปชั่นเปนปญหาที่อยูในสังคมไทยมาเปนเวลานาน และนับวันจะยิ่งทวีความ รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจากการจัดอันดับดรรชนีชี้วัดภาพลักษณการคอรรัปชั่นของประเทศตางๆ จำนวน 180 ประเทศทั่วโลกประจำปพ.ศ. 2551 ขององคกรเพื่อความโปร่งใสนานาชาต (Transparency  International) หรือ CPI (Corruption Perceptions Index) 
      • ประเทศไทยถูกจดเป็นประเทศทมี่ การทุจริตคอรรัปชั่นเปนลำดับที่ 39 ของโลก ถือไดวาเปนประเทศ ที่มีการทุจริตคอรรัปชั่นอยูในระดับที่สูง 
      • นอกจากนี้ปญหาคอรรัปชั่นในประเทศไทยยังมีวิวัฒนาการที่สลับซับซอนมากขึ้น โดยเฉพาะในทาง การเมือง 
      • ซึ่งปจจุบันไดมีการคอรรัปชั่นตั้งแตในเชิงนโยบายและในรูปแบบผลประโยชน ทับซอน โดยกลุมคนที่เขามามีสวนเกี่ยวของในปญหานี้ จะเปนผูมีอำนาจในสังคม เชน ขาราชการบางสวน นักการเมืองบางสวน นายทุน เปนตน 
      • ปัญหาคอรรัปชั่นทำให้ประเทศชาต ต้องสูญเสียงบประมาณที่ต้องนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ  เปนจำนวนมหาศาล เชน การทุจริตของขาราชการบางคนในการจัดซื้อวัสดุเพื่อนำมาสรางถนน 
      • ทำให ไดวัสดุที่ไมมีคุณภาพแตราคาสูง ซึ่งสงผลกระทบตอประชาชนโดยตรงเพราะประชาชนตองใชถนน ในการสัญจร หากถนนไมดีชำรุด หรือทรุดตัวลงก็จะทำใหประชาชนเดือดรอน หรืออาจทำให เกิดอันตรายตอชีวิตและทรัพยสินได เปนตน นอกจากนี้การทุจริตคอรรัปชั่นยังทำใหเกิดความเสื่อม ดานคุณธรรม จริยธรรมของคนในสังคมไทยดวย
      • สาเหตุของปญหาทุจริตคอรรัปชั่น
        • 1. โครงสร้างของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย เนื่องจากประชาชน ยังเลือกนักการเมือง ที่พัวพันกับปญหาคอรรัปชั่นเขามาบริหารบานเมือง ทั้งๆที่รูวานักการเมืองเหลานี้มีพฤติกรรมเชนไร 
        • 2. ขาดการปลูกฝงดานจิตสำนึกของประชาชน ใหมีความรับผิดชอบตอปญหา เชน ประชาชน รูเห็นปญหาทุจริต แตไมกลาออกมาเปดเผยเพราะกลัวจะเกิดความไมปลอดภัยกับตนเอง 
        • 3. การสรางแบบอยางที่ไมดีของสังคมตอเยาวชนของชาติเชน นักการเมืองใชเงินซื้อเสียง ในชวงการเลือกตั้ง เปนตน 
        •  4. ประชาชนไมกล้าที่จะออกมาเปิดเผย เปิดโปงความผิด เพราะกลัวความไม่ ปลอดภัย รวมทั้งเมื่อพบเห็นปญหาก็ไมออกมาตอสูหรือตอตาน 
        • 5. สื่อไมไดนำเสนอขาวการทุจริตคอรรัปชั่น ในแงของการเปนอันตรายตอสังคมวามีมากนอย เพียงใด
      • แนวทางการปองกันและแกไขปญหา
        • 1. ปลูกฝงคานิยมที่ดีใหกับเยาวชนในสังคม โดยผูใหญควรเปนแบบอยางที่ดีและปลูกฝงให เยาวชนเห็นว่าประโยชน  สวนรวมเป็นสิ่งทิ่ สำคัญ รวมทงกระตุ้นให้คนในสังคม กล้าที่จะออกมาตรวจสอบ และตอตานผูที่กระทำการทุจริต
        • 2. ภาครัฐควรมีการรณรงคใหคนในสังคมรังเกียจการทุจริต เนนความซื่อสัตย และใหภูมิใจ ในศักดิ์ศรีของตนเอง 
        • 3. กฎหมายไทย ควรมีบทลงโทษทางสังคมตอผูกระทําการทุจริตอยางเขมงวด เพื่อไมใหมี การใชชองโหวทางกฎหมายในการชวยเหลือพวกพองใหพนผิด 
        •  4. คนในสังคมจะตองใหความรวมมือและใหการสนับสนุนองคกรที่ทําหนาที่ตรวจสอบและ ขจัดปญหาการทุจริต เชน สํานักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ (ป.ป.ช.) เปนตน 
        • 5. สื่อมวลชนตองใหความสนใจในการติดตามการดําเนินงานของรัฐ และเปดโปงปญหาที่เกิดขึ้น ใหสังคมรับรู เพื่อใหประชาชนไดทราบวาปญหานเปนอันตรายตอสังคมมากเพียงใด

8. แนวทางการพัฒนาสังคม
  • ประเทศไทยไดมีการกําหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศที่ชัดเจนไวในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแหงชาติ ซึงเริ่มตั้งแต พ.ศ. 2504 
  • โดยในระยะแรกของการวางแผนพัฒนาประเทศไดเนน ไปที่การพัฒนาทางดานเศรษฐกิจมาก กวาดานสังคม และไดเกิดจุดเปลี่ยนขึ้นในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) 
  • ที่ใหความสําคัญกับการมีสวนรวมของทุกภาคสวนในสังคมมากขึ้น โดยมุงหมาย ให “คนเปนศูนยกลางการพัฒนา” และใชเศรษฐกิจเปนเครื่องมือชวยพัฒนา ใหคนในสังคมมีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 
  • ปจจุบันประเทศไทยตองเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึงสงผลกระทบ ตอทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต 
  • ประกอบกับการพัฒนาประเทศในชวงที่ผานมา ยังกอใหเกิดปญหาทางโครงสรางในหลายๆ ดาน เชน ระบบเศรษฐกิจ สังคม สิงแวดลอม และ การบริหารจัดการประเทศที่ไมเอื้อตอการพัฒนาที่ยังยืนในระยะยาว นํามาสูความเสี่ยงที่จะทําใหเกิดปญหา ตางๆ รุนแรงมากขึ้น 
  • ดวยเหตุนจึงจําเปนตองกําหนดแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม โดยเนนการเตรียมพรอมและสรางภูมิคุมกันของประเทศใหเขมแข็ง ภายใตหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 
  • ใหสามารถปรับตัว รองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในอนาคตไดอยางมันคง การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559) 
  • จึงยึดหลักการปฏิบัติตาม “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และขับเคลื่อนใหเกิดผลในทาง ปฏิบัติที่ชัดเจนยิงขึ้น 
  • โดยยึดแนวคิดการพัฒนาแบบบูรณาการเปนองครวมที่มี “คนเปนศูนยกลางการ พัฒนา” มีการเชื่อมโยงทุกมิติของการพัฒนาอยางบูรณาการ 
  • ทั้งมิติตัวคน สังคม เศรษฐกิจ สิงแวดลอม และการเมือง เพื่อสรางภูมิคุมกันใหพรอมเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ 
  • ขณะเดียวกันก็ใหความสําคัญกับการมีสวนรวมของทุกภาคสวนในสังคม ในกระบวนการพัฒนาประเทศ โดยไดกําหนดยุทธศาสตรการพัฒนาไว ดังนี้ 
    • 1. สรางความเปนธรรมในสังคม โดยการปรับปรุงโครงสรางเศรษฐกิจใหมีฐานการพัฒนา ที่ทั่วถึงและยังยืน สงเสริมการกระจายรายได และการจัดการทรัพยากรใหเกิดความเปนธรรม เพื่อให สมาชิกในสังคมสามารถเขาถึงทรัพยากรไดอยางเทาเทียมกัน 
    • 2. พัฒนาคนสูสังคมแหงการเรียนรูตลอดชีวิตอยางยั่งยืน โดยการพัฒนาคุณภาพคนทุกชวงวัย ดวยกระบวนการเรียนรูตอเนื่องตลอดชีวิต สงเสริมการสรางนวัตกรรมที่เกิดจากความคิดสรางสรรค ควบคูไปกับการปลูกฝงคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย ตลอดจนพัฒนาทักษะในการประกอบ อาชีพที่สอดคลองกับแนวโนมของตลาดแรงงานไทยและอาเซียน 
    • 3. สรางความเขมแข็งภาคการเกษตร และความมั่นคงของอาหารและพลังงาน โดยสนับสนุน ใหมีการผลิตทางการเกษตร และพัฒนาเทคโนโลยีดานการเกษตรใหมีความทันสมัยเพื่อเพิ่มผลผลิต ใหมากขึ้น พรอมทั้งสงเสริมการทําการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการผลิต พลังงานจากพืชและแหลงพลังงานทดแทนอื่นๆ 
    • 4. ปรับโครงสรางเศรษฐกิจสูการเติบโตอยางมีคุณภาพและยั่งยืน โดยสรางความเขมแข็งให แกผูประกอบการ และสงเสริมการนําภูมิปญญาทองถิ่นมาตอยอดในเชิงพาณิชยใหมากขึ้น 5. สรางความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ดวยการ พัฒนาความเชื่อมโยงดานการขนสงภายใตกรอบความรวมมือในภูมิภาคตางๆ และพัฒนาพื้นที่ในภูมิภาค ตางๆ ภายในประเทศใหเชื่อมโยงกับประเทศในกลุมอาเซียน เพื่อใชเปนฐานการพัฒนาดานอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการทองเที่ยว 
    • 6. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมอยางยั่งยืน โดยมุงเนนการอนุรักษ ฟนฟู และสรางความมั่นคงของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม และพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมใหมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
    • กลาวโดยสรุป มนุษยมีความจําเปนที่จะตองอยูรวมกันเปนสังคมเพื่อตอบสนองความตองการ ในดานตางๆ ซึ่งการที่มนุษยมาอยูรวมกันเปนสังคมจําเปนอยางยิ่งที่จะตองมีการจัดระเบียบทางสังคม เพื่อใหการอยูรวมกันเปนไปอยางสงบสุข โดยสมาชิกในสังคมจะไดรับการขัดเกลาทางสังคมและ ปลูกฝงใหเขาใจตอกระบวนการเปลี่ยนแปลงของ สังคมจากองคกรทางสังคม 
    • ปจจุบันสังคมไทยไดรับผลกระทบจาก การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เชนเดียวกับสังคมอื่น ทั่วโลก ฉะนั้นสมาชิกในสังคมจะตองเรียนรูสังคม และเขาใจกระบวนการการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะไดชวยกันหาแนวทางปองกัน และแกไขปญหาดังกลาวเพื่อการอยูรวมกันในสังคม อยางสันติสุข












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น