วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

20.ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมสากลกับวัฒนธรรมไทย

19.ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมสากลกับวัฒนธรรมไทย 
  • สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
    • 1. วัฒนธรรมไทยให้ความสำคัญกับจิตใจเป็นสำคัญ โดยมุ่งจุดหมายสำคัญ เพื่อขัดเกลาจิตใจของสมาชิกในสังคมให้เป็นคนดีประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีแต่วัฒนธรรมสากลให้ความสำคัญกับการสะสมทางด้านวัตถุหรือความร่ำรวยเป็นสำคัญโดยไม่สนใจว่าจะสามารถหาทรัพย์มาได้โดยวิธีใดหากบุคคลใดมีทรัพย์สินมากก็จะได้รับการยอมรับจากคนในสังคม
    • 2. วัฒนธรรมไทยส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมของผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ที่อาศัยอยู่ในเขตชนบท จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดดำรงชีวิตอยู่ โดยการพึ่งพาอาศัยกัน เป็นลักษณะของครอบครัวรวม แต่วัฒนธรรมสากลจะเป็นวัฒนธรรมของผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านอุตสาหกรรมและบริการ ที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง จึงไม่มีการพึ่งพาอาศัยกันมากนัก เป็นลักษณะต่างคนต่างอยู่
    • 3. วัฒนธรรมไทยให้ความสำคัญกับผู้อาวุโสสังคมเนื่องจากท่านเหล่านี้เป็นผู้ที่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคมมากมายเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มีความรู้ความสามารถจึงได้รับการยกย่องและยอมรับจากทุกคนในสังคม ซึ่งมีความแตกต่างจากวัฒนธรรมของผู้ที่มีความรู้โดยวัดจากใบปริญญาบัตรหรือใบประกาศต่าง ๆ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับผู้อาวุโสมากนัก
    • 4. วัฒนธรรมไทยมีพื้นฐานมาจากความเชื่อของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จึงมีลักษณะนิสัยที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความเมตตากรุณาเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์โดยทั่วไปแต่วัฒนธรรมสากลส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมของชาติตะวันตกที่นับถือศาสนาคริสต์จึงมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
    • 5. วัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษของไทยประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา จึงมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยมากที่สุด เป็นเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจของคนไทย ที่ไม่เหมือนใคร ที่คนไทยยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน แต่วัฒนธรรมสากลบางอย่างจะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนไทย เนื่องจากรับมาจากต่างประเทศและไม่ได้สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น